...
...
เผยแพร่: 29 ก.ย. 2563
หน้า: 293-302
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 656
Download: 194
Download PDF
การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนสบเปิงวิทยา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
The Management of Early Childhood Educattion by Parent Involvement In Soppoeng Witthaya School Mae Tang District Chiang Mai Province
ผู้แต่ง
โชติกา เหมืองอุ่น, ประวัติ พื้นผาสุข
Author
Chotikar Muangoun, Prawat Puenphasook

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย และเพื่อเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนสบเปิงวิทยา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 46 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูปฐมวัยครูวิชาการ จำนวน 16 และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนสบเปิงวิทยา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีความแตกต่างกันไปในแต่ละด้าน กล่าวคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดสภาพแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการติดต่อสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการตัดสินใจ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 2. กลยุทธ์ในการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โรงเรียนสบเปิงวิทยา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรประกอบด้วยกลยุทธ์ การจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน กลยุทธ์การจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของนักเรียนในระดับชั้นปฐมวัย กลยุทธ์จัดกิจกรรมเชิญผู้ปกครองเป็นวิทยากรรวมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกลยุทธ์การช่วยเหลือแบ่งเบาหน้าที่ภาระครูในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนด้านการจัดสภาพแวดล้อม ควรประกอบด้วยกลยุทธ์การสนับสนุนด้านงบประมาณ กลยุทธ์การระดมทรัพยากรในการการจัดสภาพแวดล้อมและปรับปรุงสนามเด็กเล่น  สำหรับด้านการติดต่อสื่อสาร ควรประกอบด้วย กลยุทธ์การเชิญประชุมในระดับชั้นปฐมวัยก่อนเปิดภาคเรียนและก่อนปิดภาคเรียน อย่างสม่ำเสมอ กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อใช้ในการรติดต่อสื่อสาร ส่วนทางด้านการตัดสินใจ ควรประกอบด้วยกลยุทธ์ ร่วมประเมินนักเรียนตามสภาพจริงเกี่ยวกับแฟ้มประจำตัวนักเรียน กลยุทธ์ร่วมวางแผน แสดงความคิดเห็น แก้ปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ และกลยุทธ์การร่วมประเมินผลการดำเนินงานเพื่อติดตาม ตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุงเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

Abstract

The purpose of this research to study the conditions of early childhood education administration through participation of parents Soppoeng witthaya School, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. And to propose strategies in early childhood education management through participation of parents Soppoeng witthaya School, Mae Taeng. District, Chiang Mai Province. And to propose strategies in early childhood education management through participation of parents Soppoeng witthaya School, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. The population used in the research was 46 people. Include School administrators School board, early childhood teachers, academic teachers 16 and 30 parents of students. Tools used in Data collection was a questionnaire, interview forms and group conversation recording form Analyze by using frequency, percentage, mean, standard deviation. The research results are as follows 1. The condition of early childhood education administration through participation of parents Soppoeng witthaya School, Mae Taeng District, Chiang Mai Province In the teaching and learning activities overall is at a medium level. Environmental arrangement overall is at a medium level. Communication overall is at a high level. Decision-making overall is at a low level.  2. Strategies in Administration of Early Childhood Education with parents' Participation Soppoeng witthaya School, Mae Taeng District, Chiang Mai Province which can be summarized as follows 2.1 Teaching and learning activities consists of the following strategies. Strategy 1 Organizing activities to provide knowledge about curriculums and learning and teaching activities. Strategy 2 Organizing activities to disseminate academic works of students at the preschool level. Strategy 3 Organizing activities inviting parents to be a guest speaker in the teaching and learning activities. Strategy 4 Helping to ease the burden of teachers in organizing various activities. 2.2 Environment arrangement Consists of the following strategies. Strategy 5 Budget support mobilizing resources to organize the environment and improve the playing field. 2.3 Communication consists of the following strategies. Strategy 6 Invitation to meeting at the preschool level before the beginning of the semester and before the semester break regularly. Strategy 7 Creating a parent network for communication. 2.4 Decision-making consists of the following strategies. Strategy 8 Participate in student assessments according to the actual situation about the student identification file. Strategy 9 Joint planning comment solve problems and suggestions. Strategy 10 Joint evaluation operations to monitor, correct, improve to improve learning.

คำสำคัญ

การบริหารจัดการ, การศึกษาปฐมวัย, การมีส่วนร่วม, กลยุทธ์

Keyword

Management, Early Childhood Education, Participation, Strategy

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093