บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 2) เปรียบเทียบความคิดเห็น ผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูปฏิบัติหน้าที่แนะแนวที่มีต่อการบริหารงานแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยจำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาใช้ปฏิบัติงานแนะแนว 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนว จำนวน 354 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที และการทดสอบเอฟ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาการบริหารงานแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนว และครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนว และครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยจำแนกตาม ตำแหน่ง โดยภาพรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาใช้ปฏิบัติงานแนะแนว พบว่า โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานแนะแนวการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 มีความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนว ที่เสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาพบว่า 1) สถานศึกษามีการพัฒนารูปแบบในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลยังไม่ดีเท่าที่ควร 2) ด้านครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานแนะแนวหรือครูปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนวยังให้ความรู้ข่าวสารที่จำเป็นแก่นักเรียนและผู้ที่สนใจได้ไม่ทั่วถึง 3) บริการให้คำปรึกษายังดำเนินไปในทิศทางเดียว ขาดผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ผลการวิเคราะห์ที่นำมาร่วมกันพิจารณาเพื่อให้คำปรึกษายังไม่ชัดเจน 4) การจัดกิจกรรมโครงการพิเศษยังไม่เพียงพอ และการติดตามและประเมินผลการให้บริการจัดวางตัวบุคคลไม่ต่อเนื่อง และ 5) สถานศึกษายังขาดการนำผลการประเมินมาพัฒนางาน ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามและประเมินผล ทำให้การจัดทำแผนการนิเทศ ติดตาม การทำงานไม่สม่ำเสมอ สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา คือ 1) สถานศึกษาควรมีการรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ ของนักเรียนและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ 2) ควรมีการจัดดำเนินการกำกับ ติดตาม การบริการสารสนเทศ 3) สถานศึกษาควรมีการพัฒนาผู้ที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาพร้อมทั้งจัดทำห้องให้คำปรึกษาอย่างเอกเทศ และสนับสนุนส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับเทคนิควิธีการในการให้คำปรึกษา 4) ควรมีเครื่องมือรวบรวมความสนใจ ความถนัด ความต้องการของนักเรียนที่หลากหลาย และควรจัดวางตัวบุคลากรในสถานศึกษาให้เหมาะสมตามความสามารและความถนัด และ 5) ควรมีกระบวนการสร้างเครื่องมือในการติดตาม และประเมินผลอย่างประสิทธิภาพ
Abstract
The purposes of this study were three aspects; 1) to study the administration of educational guidance services for secondary schools under the secondary educational service area office 28 2) to compare the opinions of the administrators, general teachers and guidance teachers who perform on duties to educational guidance services for secondary schools under the secondary educational service area office 28 which classified by positions, experiences, fields of guidance duties 3) to study the problems and the development approaches of educational guidance services for secondary schools under the secondary educational service area office 28. The sampling group, there were 354 of the administrators, general teachers and guidance teachers by using the stratified sampling method. The research instrument was the a 5 scale-rating questionnaire which had the whole reliability at 0.99. The statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The statistical analysis were t-test and F-test, and found the significantly different at the statistical which tested in paired difference by using Scheffe’s method. The results revealed that; 1. The result of the study of the administration of educational guidance services for secondary schools under the secondary educational service area office 28 according to the opinions of the administrators, general teachers and the guidance teachers who perform on duties, the overall and in each aspect were at the high level. 2. The result of the comparisons of the opinions of the administrators, general teachers and guidance teachers who perform on duties to educational guidance services for secondary schools under the secondary educational service area office 28 which classified by positions, the overall was found that significantly different at the statistical level of .05 , classified by the experiences was found that the overall was not different, and classified by the fields of guidance duties was found that the overall was not different. 3. Problems and development approaches of educational guidance services for secondary schools under the secondary educational service area office 28 were suggested in the problems that; 1) Schools have developed a form of data collection that is not as good as it should be. 2.) As for the teachers aspect, the guidance work or the teachers who did the duties, the information was not yet provided to the students and those interested. 3) Counseling services continued in one direction, which lacks of counseling experts. The unclear results of the analysis that were taken together to provide in consultation. 4) Special project activities were not enough and the follow-up and evaluation of the individual placement services was not continued and 5) Schools still lacked of using evaluation results for development, lacked of using technology for monitoring and evaluation and causing the supervision plan to follow up on the guidance work which was not continued. For development approaches were suggested that; 1) Schools should collect student data and store systematically. 2) There should be a process for overseeing and monitoring the information service. 3) The school should develop the person who is responsible for giving advice as well as providing a separate counseling room and encouraging teachers to be trained in the techniques of counseling. 4) There should be created the tools for collecting interests, aptitudes, and needs of various students which should arrange the personnel in the school appropriately according to the ability and their aptitude and 5) There should be a process for creating tools for effective monitoring and evaluation.
คำสำคัญ
บริการแนะแนว, งานแนะแนว, การบริหารงานแนะแนวKeyword
Guidance Work, Guidance Service, Guidance Managementกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,717
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,916
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093