บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองค้าโคกกุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน ได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี (ฉบับย่อ) สำหรับครู/ผู้ดูแลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
This research is to study the effects of developing emotional intelligence using creative activities with the objective of comparing the emotional intelligence of preschool children. Before and after using creative activities. The population used in the research was 18 kindergarten students in the 3rd year of Ban Nongkha Kok Kung School. The instrument used for data collection was the Emotional Intelligence Assessment Form for 3-5 year old children (quick version) for teachers / carers. Department of Mental Health Ministry of Public Health Which the data were analyzed for the mean, standard deviation and test the value. The research found that Preschoolers who receive creative activities have emotional intelligence. After receiving more creative activities Statistical significance at the level of .05
คำสำคัญ
ความฉลาดทางอารมณ์, กิจกรรมสร้างสรรค์Keyword
Emotional Intelligence, Creative Activitiesกำลังออนไลน์: 116
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,180
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,379
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093