บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินการนิเทศภายในเชิงระบบ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการดำเนินการนิเทศภายในเชิงระบบ จำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินการนิเทศภายในเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 354 คน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการทดสอบเอฟ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการดำเนินกาทศภายในเชิงระบบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อการดำเนินการนิเทศภายในเชิงระบบ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินการนิเทศภายในด้วยวิธีการเชิงระบบของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ปัญหาที่พบ คือ ไม่มีการจัดทำแหล่งข้อมูลทางวิชาการและแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในท้องถิ่น ไม่มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการนิเทศภายใน ขาดการประชุมวิเคราะห์ภาระงานที่ต้องทำและขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขาดการประชุมเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ เมื่อสิ้นปีการศึกษา ขาดการนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนจริง สำหรับแนวทางการพัฒนา ควรมีการจัดทำแหล่งข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลของวิทยากรหรือแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในท้องถิ่น ควรมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต่อการใช้ในการวางแผนนิเทศภายใน ควรมีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวิเคราะห์ถึงภาระงานที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน ควรมีการประชุมเพื่อสรุปผลการนิเทศโดยให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม ควรนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนเพื่อปรับปรุงการนิเทศภายในอย่างจริงจังและสอดคล้องตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
Abstract
The purposes of this study were 1) to study the systematic internal supervision operation 2) to compare the opinions of the administrators and teachers to systematic internal supervision operation approach which classified by positions, experiences, and sizes of schools and 3) to study the problems and the development approaches of the systematic internal supervision operation. The sampling group used in this study were administrators and teachers for 354 people under the secondary educational service area office 28. The research instruments were check list, rating scale and open form questionnaires. The statistics used in data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The statistical analysis were t-test and F-test, and paired different test by using Scheffe’s method. The results revealed that; 1. The overall of the systematic internal supervision operation of schools under the secondary educational service area office 28 was at high level. 2. The comparisons of the opinions of the administrators and teachers to systematic internal supervision operation approach of schools under the secondary educational service area office 28 which classified by positions, experiences, and sizes of schools, the overall was not different. 3. The problems and the development approaches of the systematic internal supervision operation of schools under the secondary educational service area office 28 were; The problem was, there were not the academic resources and the important local learning resources, there did not have the essential information for internal supervision, lacking in the analytical meeting of the tasks and cooperation with the other relevant organizations, lacking in the revising meeting of the operation continuously in the end of the academic year, lacking in the information for the real planning. The development approach was, there should have the academic resources and important lecturers or local learning sources available, it should have the information which is necessary for internal supervision planning, The solution was, there should have the consultation meeting to analyze the workload that must be done together, It should have the meetings to conclude the results of the supervision which let everyone participated in sharing, it should use the information for planning to improve the internal supervision seriously and in accordance with standards and indicators.
คำสำคัญ
การนิเทศภายในเชิงระบบ, โรงเรียนมัธยมศึกษาKeyword
Systematic Internal Supervision, Schools under the Secondaryกำลังออนไลน์: 125
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,169
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,368
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093