...
...
เผยแพร่: 29 ก.ย. 2563
หน้า: 146-157
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 692
Download: 239
Download PDF
สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Conditions and Problems of Information Technology Utilization for Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
จีรวุฒิ คล่องแคล่ว,ไชยา ภาวะบุตร, ชรินดา พิมพบุตร
Author
Jeerawut Klongkleaw, Chaiya Pawabutra, Charinda Pimpabud

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 123 คน ครูธุรการ จำนวน 123 คน และครูผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 123 คน รวม 369 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม พบว่า ด้านสภาพการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 ส่วนด้านปัญหาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (R) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ F-test ชนิด One way ANOVA  ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 2. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดของ ผู้บริหาร ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ในด้านงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดของ ผู้บริหาร ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่าด้านวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสบการณ์ใน การปฏิบัติงานต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ด้านงบประมาณ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 4. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดของ        ผู้บริหาร ครูธุรการและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า รายด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกัน ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า รายด้านและโดยรวมไม่แตกต่างกัน  5. ในการวิจัยครั้งนี้ได้สัมภาษณ์เพื่อแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานในโรงเรียน สามารถสรุปได้ ดังนี้  5.1 ครูผู้รับผิดชอบจะต้องมีการค้นคว้าการพัฒนาด้านวิชาการบนระบบเครือข่ายให้ทันสมัย มีฐานเก็บข้อมูลที่ดี ทั้งชนิดออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งจะต้องสามารถ เลือกใช้ได้ทันที 5.2 ควรใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดเก็บข้อมูล การจัดอบรมพัฒนาครูในด้านนี้ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาต่างๆ ลงได้ และเลือกผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมกับงาน 5.3      ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเน้นให้ครูผู้สอนตระหนักถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ซึ่งครูทุกคนต่างก็มีความพร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์อยู่แล้วเพียงแค่ให้ความสำคัญเท่านั้นเอง

Abstract

The purposes of this research aimed to examine State and Problems of The Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3. The sample, obtained through proportional stratified random sampling, were 123 directors, 123 administrative teachers, 123 the teacher responsible for information technology, yielding a total of 369 participants. The research instrument tor data collection was a rating scale questionnaire containing. The state of the Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions reliability of .90 and The problems of the Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions reliability of .95. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through F-test (One – Way ANOVA),  The findings were as follows: 1. The state of the Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 as perceived by directors, administrative teachers, the teacher responsible for information technology, as a whole, were at the high level.  The problems of the information Technology Usage, as a whole, were at the low level.  2. The state of the Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 as perceived by directors, administrative teachers, the teacher responsible for information technology, as a whole, were indifferent. When each aspect was considered, it was found that the use of information technology for budget management was significantly difference at .01 level.   The problems of the information Technology Usage, as a whole and each aspect, were indifference. 3. The state of the Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 as perceived by directors, administrative teachers, the teacher responsible for information technology, with difference work experiences as a whole, were statistically difference at the .05 level. When each aspect was considered, it was found that the use of information Technology for academic management was statistically difference at the .05 level.  The problems of the information Technology Usage, with difference work experiences, as a whole were indifference. When each aspect was considered, it was found that the use of information Technology for budget management was statistically difference at the .01 level. 4. State and Problems of the Information Technology Usage for Administration of Academic Institutions of Sakon Nakhon primary Educational Service Area 3 as perceived by directors, administrative teachers, the teacher responsible for information technology, with the difference School as a whole and each aspect, were indifference. 5. The proposed guideline for developing the Information technology Usage for Administration of Academic Institutions involved three aspects: 5.1 The responsible must have academic development on a modern network, have a good database both online and offline, which able to use immediately. 5.2 Package software should be used to store data. Teacher training course will help reduce problems and must choose the responsible person that is suitable for the job.  5.3 Administrators must emphasize the importance of information technology, teachers should aware of using information technology to make the most benefit.

คำสำคัญ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารงานในโรงเรียน

Keyword

Information Technology Utilization, School Administration.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093