บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความต้องการจำเป็นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน 2) จัดลำดับความต้องการจำเป็นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 297 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระดับความต้องการจำเป็นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน จำแนกตามกระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความจำเป็นมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล, ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน เมื่อพิจารณาตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.22) โดยขนาดโรงเรียนที่มีความต้องการจำเป็นในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมากที่สุดคือ โรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดกลาง รองลงมาคือ โรงเรียนขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนแยกตามด้าน ดังนี้ 1. ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรจัดทำเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนในแต่ละส่วนได้ครอบคลุมและ เรียกดูข้อมูลได้ 2. ด้านการคัดกรองนักเรียน มีวิธีการในการคัด วิเคราะห์ข้อมูลแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม เพื่อพิจารณาผลการคัดกรองนักเรียน และหาแนวทางแก้ไขปัญหา 3. ด้านการส่งเสริมนักเรียน ควรกำหนดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน เพื่อเป็นการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของนักเรียน 4. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรได้รับการฝึกอบรมแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนอย่างถูกต้อง 5. ด้านการส่งต่อนักเรียน สถานศึกษาควรประสานงานสร้างความเข้าใจร่วมกัน มีการบันทึกข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาในการส่งต่อนักเรียนทั้งภายในและภายนอกให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำไปใช้ในการดำเนินงานในสถานศึกษาของตนเองได้
Abstract
The purposes of this research were to (1) study the level of need assessment for student care and support system in schools, (2) rank need assessment for student care and support system in schools and (3) study the development guidelines for student care and support system in schools under the secondary education service area office 3 in Phra Nakorn Si Ayutthaya. The research Instruments were the questionnaires, the sample were 297 school administrator, teacher who responsibility on student care and support system and teacher adviser in schools under the secondary education service area office 3 in Phra Nakorn Si Ayutthaya. The data were analyzed by determining percentage, mean and standard deviation. The results found that the level of need assessment for student care and support system in schools when classified by operating process in overall were at high level ( = 4.22). When considered in each aspect, it was found the first three mostly need assessment were the individual knowing activity, the student supporting activity and the student transferring activity. When considered in size of the educational institution in overall were at high level ( = 4.22) and found the small and middle size schools need student care and support system more than large and extra-large schools. The results of development guidelines for student care and support system in each aspect were as follows: 1. The individual knowing activity: There should provide comprehensive tools for collecting and retrieving student data. 2. The student selecting activity: There was a method for screening, analyzed data and divide students into groups for consider the results of students and find solutions. 3. The student supporting activity: There should set activities to promote students in order to develop that match with student needs. 4. The preventing and problem-solving activity: Teachers and related personnel should be trained to organize activities to prevent and correct student problems. 5. The student transferring activity: Educational institutions should create memorandum of agreement between schools for efficient internal and external transfer of students. The findings of this study, it was a way student care and support system in educational institutions entrepreneur more efficiently and could be utilized for driving and development the self-educational institutions.
คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, แนวทางการพัฒนา, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, มัธยมศึกษาKeyword
Need assessment, Development guidelines, Student care and support system, Secondary educationกำลังออนไลน์: 94
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,972
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,171
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093