...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 282-291
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 440
Download: 220
Download PDF
การศึกษาสภาพการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3
A Study of the state of promoting research in the classroom in Schools Under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
พงศกร ไชยดำ, ไพรวัลย์ โคตรรตะ, สุวิมล โพธิ์กลิ่น
Author
Pongsakorn Chaiyadam, Paiwan Kotta, Suwimol Pokrin

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหัวหน้าฝ่ายวิชาการในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้มีหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการในสถานศึกษาประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รวม 209 คน และครูผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหัวหน้าฝ่าย วิชาการในสถานศึกษา รวม 209 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 รวมประชากรทั้งหมดจำนวน 418 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยจำแนกตามสัดส่วนขนาดของสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้มีหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการในสถานศึกษา โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้มีหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการในสถานศึกษาเกี่ยวกับการการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 โดยรวม พบว่า มีสภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการให้ความสำคัญกับงานวิจัยในชั้นเรียน ด้านการมีความรับผิดชอบ ต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน และด้านการให้ความยอมรับนับถือของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ตามลำดับ

2. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้มีหน้าที่หัวหน้าฝ่ายวิชาการในสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

3. แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุป ได้ดังนี้ โดยมีการอบรมให้ครูในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน กำหนดใช้รูปแบบในการวิจัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สถานศึกษากำหนดแรงจูงใจให้กับครูเพื่อเป็นการยกย่องครูที่มีผลงานทางด้านการวิจัย สถานศึกษาให้การสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกแก่ครูให้รางวัลสร้างขวัญและกำลังใจในการทำวิจัยของครูต่อไป

Abstract

The purpose of this research is (1) To study the state of promoting research in the classroom in basic schools Under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3. (2) To compare the conditions of promoting research in classrooms in basic schools According to the opinions of the school director and teachers who are responsible for the head of the academic department in the educational institution Classified by position and size of the school. (3) To study guidelines for developing research in classroom in basic schools According to the opinions of the director of the educational institution And teachers who are responsible for the head of the academic department in the school.

The population used in this research is 209 school director and 209 teachers are responsible for overseeing the quality assurance system in school. Under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3. Total population of 418 people

The samples used in this study were obtained from stratified random sampling. By the proportion of the school size. school director and teachers who are responsible for the head of the academic department in the school. By determining the size of the sample according finished table to Krejcie and Morgan's. A sample of 202 people. The research instruments were questionnaires and interview forms. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, T-test and ANOVA.

Research findings were as follows:

1. State of the promotion of research in classrooms in basic schools under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3, overall, found that the conditions were at a high level. Considering each aspect, it was found that the 5 levels were in high level, in descending order The focus on research in the classroom Responsibility for teachers who do research in class In promoting the progress of the work of teachers who do research in the classroom Promoting the success of classroom research And the respect of the teachers who do research in the class, respectively.

2. Comparison of opinions on the state of promoting research in classrooms in basic schools Under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3 of the school administrators and teachers who are responsible for the head of the academic department in the schools, classified by position and size of educational institutions, found that opinions are not different With statistical significance at .05

3. Guidelines for the development of classroom research promotion in basic schools can be summarized as follows: With training for teachers in schools or outside schools Use the same research methodology Education establishes motivation for teachers. In order to praise teachers who have research work The school provides support or facilitates teachers to reward teachers and build morale in doing research.

คำสำคัญ

การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน

Keyword

Promotion of classroom research in educational institutions

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093