...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 273-282
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 490
Download: 192
Download PDF
การบริหารงานวิชาการโรงเรียนบนพื้นที่สูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
Academic Management of High Land School Belong Under Chiangmai Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
กุลธร ดอนแก้ว, จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์
Author
Kuntorn DonKaew, Chakparun Wichaakkharawit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการ 2) ศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ 3) เสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบนพื้นที่สูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มจากประชากร จำนวน 53 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปบรรยายแบบพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหาและความต้องการการบริหารงานวิชาการ พบว่า สภาพปัญหางานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ส่วนความความต้องการการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากทุกด้าน

2. โรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ พบว่า 1) มีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) วัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ 4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสอดคล้องกับระเบียบและหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด 5) มีแผนการนิเทศอย่างชัดเจนและมีกระบวนการนิเทศที่หลากหลาย 6) ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนเป็นประจำทุกภาคเรียน

3. แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบนพื้นที่สูงได้ข้อเสนอแนะว่า 1) สถานศึกษาควรสร้างหลักสูตรโดยทีมวิชาการบนพื้นที่สูง 2) ควรจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการใช้แหล่งเรียนรู้ตามสภาพจริงและแหล่งเรียนรู้ทางเทคโนโลยียุคดิจิทัล 3) ควรมีการวัดและประเมินผลตามบริบทของผู้เรียนบนพื้นที่สูง 4) ควรสร้างเกณฑ์การประเมินเป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานบริบทของผู้เรียนบนพื้นที่สูงและตัวชี้วัดของ สพฐ. และสมศ. 5) ควรมีการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอสอดคล้องผู้เรียนบนพื้นที่สูง 6) ควรมีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามบริบทของผู้เรียนบนพื้นที่สูง

Abstract

The objectives of this research were to investigate academic management contexts and needs, to explore schools with best practices in academic management, and to propose academic management guidelines to highland schools under the supervision of the Chiang Mai Primary Education Service Area 3. The mixed research method was implemented and the instruments consisted of a questionnaire, interviews and focus group discussions with 53 individuals. The quantitative data were statistically analyzed for mean, percentage and standard deviation. The Content Analysis was used to analyze the qualitative data and the results were presented descriptively.

The research results are summarized as follows.

1. The academic management contexts were found to be at a moderate level in all aspects but the academic management needs were at a high level in all aspects.

2. For schools with best practices in academic management, it was found that their instructional management was based on the Basic Education Core Curriculum. Their instructional management was learner-centered. Their measurement, evaluation and credit transfer were based on the regulations of the Ministry of Education. The development of their internal quality assurance systems were strictly in accordance with relevant regulations and criteria. Their supervision plans were clear and supervision processes were diverse. Classroom research was supported and encouraged on a semester basis.

3. The academic management guidelines for the highland schools were suggested that school curricula be developed by highland academic teams. Instructional management should be based on actual learning and digital technology resources. Measurement and evaluation should be in line with contexts of highland learners. Evaluation criteria and achievement goals should be based on learners’ contexts and indicators of Office of the Basic Education Commission and Office for National Education Standards and Quality Assessment. Academic and instructional supervisions should be conducted on a regular basis in accordance with highland learners. Classroom research should be conducted in order to improve learners’ quality according to the contexts of highland learners.

คำสำคัญ

การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนบนพื้นที่สูง

Keyword

Academic Management, Highland Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093