...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 265-273
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 440
Download: 204
Download PDF
การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA
The study of Academic Administration of Ban Mae Kha Poo School Samoeng District Chiang Mai Province Based on PDCA Process
ผู้แต่ง
เกศรา ตุ่มคำ, สนิท หาจัตุรัส
Author
Kedsara Tumkham, Sanit Hajaturat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และครูโรงเรียนบ้านแม่ขะปู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA มีระดับการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายกระบวนการ พบว่า ขั้นที่มีระดับการปฏิบัติงานน้อย คือ ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act) รองลงมาขั้นที่มีระดับการปฏิบัติงานปานกลาง คือ ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Do) และขั้นการตรวจสอบ (Check)

2. แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA ที่ต้องคำนึงถึงของแต่ละด้าน คือ

2.1 ด้านหลักสูตรสถานศึกษา คือ ขั้นการวางแผน (Plan) การประชุมวางแผน กำหนดจุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ แต่งตั้งคณะทำงาน งบประมาณ ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Do) การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ขั้นการตรวจสอบ (Check) เมื่อนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติควรเก็บรวบรวมข้อมูลจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาจากการใช้หลักสูตร ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act) การประเมินหลักสูตรสถานศึกษามีความสอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน คือ ขั้นการวางแผน (Plan) วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Do) ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำไว้ ขั้นการตรวจสอบ (Check) การนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act) การเก็บรวบรวมข้อมูลควรนำจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาจากการนิเทศมาร่วมกันวางแผนปรับปรุงแก้ไข

2.3 ด้านการวัดผลประเมินผล คือ ขั้นการวางแผน (Plan) การเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเพื่อจัดทำ แบบวัดผลประเมินผล ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Do) การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ขั้นการตรวจสอบ (Check) การตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติงานควรมีการปรับปรุงแก้ไข ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act) การนำข้อมูลจากการปฏิบัติไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

2.4 ด้านการนิเทศการศึกษา คือ ขั้นการวางแผน (Plan) การกำหนดเป้าหมายการนิเทศควร จัดลำดับความสำคัญของการนิเทศ ขั้นการปฏิบัติตามแผน (Do) การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ขั้นการตรวจสอบ (Check) กำหนดกรอบการนิเทศควรมีการเก็บข้อมูลระหว่างนิเทศ ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act) การปรับปรุงแก้ไขตามผลการนิเทศ เพื่อการวางแผนการนิเทศครั้งต่อไป

Abstract

The objective of this research was to 1) study the conditions and problems of academic administration of Ban Mae Kha Poo School, Samoeng District, Chiang Mai Province, based on PDCA Process and 2) suggest the academic administration approach of Ban Mae Kha Poo School, Samoeng District, Chiang Mai Province, based on PDCA Process. The 26-population used in the research including school administrators, school board and teachers of Ban Mae Kha Poo School within the academic year 2018. The data were collected through questionnaire, interview and recorded group conversation. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The research results are as follows:

1. The condition of academic administration of Ban Mae Kha Poo School, Samoeng District, Chiang Mai Province, based on PDCA Process, has an overall level of performance at a moderate level. When considering each process, found that low-level performance is Improvement Process (Act) and moderate level performance are Implementation Process (Do) and Monitoring Process (Check)

2. The academic administration approach of Ban Mae Kha Poo School, Samoeng District, Chiang Mai Province, based on PDCA Process, must considered each area which are:

2.1 School Curriculum: Planning Process (Plan); Set the objectives, vision, mission, appoint the working group and plan the budget. Implementation Process (Do); Execute the plan. Monitoring Process (Check); Once the plan was executed, collect data of the best practice or process that need to be improved from using the curriculum. Improvement Process (Act); The Evaluation of School Curriculum is consistent with the context of the school.

2.2 Teaching and Learning: Planning Process (Plan); Analyze the school curriculum and create a learning management plan. Implementation Process (Do); Teachers organize learning activities according to the learning management plan. Monitoring Process (Check); Supervision and monitoring of teaching and learning. Improvement Process (Act); Create an improvement plan from collected data of the best practice or process that need to be improved.

2.3 Measurement and Evaluation: Planning Process (Plan); Collecting student data to prepare the evaluation form. Implementation Process (Do); Execute the plan. Monitoring Process (Check); Monitoring during the operation, should be revised. Improvement Process (Act); The implementation of the information to improve and make it suitable for learning.

2.4 Educational Supervision: Planning Process (Plan); The purpose of the supervision should be prioritized. Implementation Process (Do); Execute the plan. Monitoring Process (Check); Establish the supervision framework. Information should be collected during supervision. Improvement Process (Act); Improve the process based on supervision results to help planning the next supervision.

คำสำคัญ

การบริหารงานวิชาการ, กระบวนการ PDCA

Keyword

Academic Administration, PDCA Process

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093