บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม 2) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนคุณธรรม โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 99 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่างมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านโรงเรียน รองลงมาคือ ด้านผู้บริหาร ด้านนักเรียนและด้านครู
2. ปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าปัญหาสูงสุด คือ ด้านครู รองลงมาคือ ด้านนักเรียน ด้านผู้บริหารและด้านโรงเรียน
3. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 3.1) ด้านโรงเรียน มีกิจกรรมการดำเนินงาน 4 ประการ ได้แก่ ต้องมีการประชุมระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียนแกนนำเพื่อร่วมกันวางแผน กำหนดแผนปฏิบัติงานประจำปีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมทั้งระยะสั้นและยาว เป็นต้น 3.2) ด้านผู้บริหาร มีกิจกรรมการดำเนินงาน 3 ประการ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนต้องใช้กระบวนการนิเทศ กำกับ ติดตาม มีการรายงานผลอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาและนำผลในการดำเนินงานมาวางแผนในการพัฒนาในปีต่อไปให้ดีขึ้น เป็นต้น 3.3) ด้านครู มีกิจกรรมการดำเนินงาน 5 ประการ ได้แก่ ครูจะต้องออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างคุณธรรมให้ผู้เรียนโดยผ่านโครงงานคุณธรรมและกิจกรรมอื่นที่โรงเรียนกำหนดไว้ เป็นต้น และ 3.4) ด้านนักเรียน มีกิจกรรมการดำเนินงาน 5 ประการ ได้แก่ ครูและนักเรียนต้องร่วมปฏิบัติกิจกรรมละลายพฤติกรรม ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดี และแนวทางแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ควรพัฒนา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดี เป็นต้น
Abstract
This research was aimed to 1) study conditions of moral school project operation; 2) study problems related to moral school project operation, and 3) provide suggestions to the operation of moral school project of basic education schools in Phranakhon Si Ayutthaya province. The research methodology covered 2 stages. Stage 1 was conducted to study conditions and problems relevant to moral school project. A sample group consisted of 99 moral school administrators who were acquired by a stratified random sampling. The research instrument employed in this study was a five-rating scale questionnaire with a reliability of 0.98. Statistics employed at this research stage included mean and standard deviation. Stage 2 was conducted to suggest guidelines to develop the moral school project of basic education schools in Phranakhon Si Ayutthaya province. The main informants were 5 experts who were acquired by a purposive sampling. The research instrument employed at this stage included semi-structured interviews. Content analysis was used to analyze the data.
Findings revealed that
1. conditions of moral school project operation were found in a high level. The highest practice was found in school, followed by administrators, students, and teachers, respectively.
2. problems of operating moral school project showed a low level. The highest score was found on teachers, followed by students, administrators, and school.
3. Guidelines to develop the moral school project were found in 4 aspects: 3.1) In terms of school, it consisted of 4 practical activities: the meeting of key personnel from school committee, school administrators, teachers, and students to set up an annual work plan related to the development of the moral school project both in short and long terms; 3.2) In terms of administrators, it consisted of 3 practical activities. School administrators had to monitor, follow up and report continuously within the time frame, and use the evaluation results to help develop the project in the following year; 3.3) In terms of teachers, it consisted of 5 practical activities. Teachers had to design learning activities related to morality through moral project work or other activities assigned by the school, and 3.4) In relation to students, it consisted of 5 practical activities. Teachers and students had to work together to exchange good behaviors and to suggest some behaviors that needed to be developed so as to inspire people for a good conduct.
คำสำคัญ
การดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม, โรงเรียนคุณธรรมKeyword
Moral school project implementation, Moral schoolกำลังออนไลน์: 123
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,170
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,369
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093