...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 211-222
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 256
Download: 152
Download PDF
การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
Teacher competency development in the Authentic Evaluation Learning for schools under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
ภัทราพร ประภาศรี, ธัญญธร ศรีวิเชียร
Author
Phattraporn Prapasri, Tanyatorn Sriwichian

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินผลตามสภาพจริงและการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 และ 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 การวิจัยมี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การประเมินผลตามสภาพจริง และการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอน จำนวน 317 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) นำข้อมูลมาวิเคราะห์หา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แล้วหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและจัดลำดับ (PNI) จากนั้นศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง ระยะที่ 2 ร่างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3 พบว่า มีจำนวน 7 องค์ประกอบ 44 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดจุดประสงค์การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการกำหนดวิธีการและเครื่องมือการประเมินผลตามสภาพจริง จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการกำหนดกรอบการประเมินผลตามสภาพจริง จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการนำเสนอผลการประเมินผลตามสภาพจริง จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านการกำหนดภาระงานการเรียนรู้ตามสภาพจริง จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ และ 7) ด้านการกำหนดตัวผู้ประเมินตามสภาพจริง จำนวน 5 ตัวบ่งชี้

2. ผลการศึกษาสภาพปฏิบัติจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง พบว่า สภาพปฏิบัติจริงของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เป็นรายข้อ ด้านการกำหนดกรอบการประเมินผลตามสภาพจริง เป็นรายข้อมีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ด้านการกำหนดกรอบการประเมินผลตามสภาพจริง เป็นรายข้อโดยรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

จะเห็นได้ว่าแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ได้เป็นอย่างดี

Abstract

This research aimed 1) to study the factors and indicators of authentic assessment and study the current state, the desirable state of authentic assessment for schools under Udon Thani office of primary education service area 3 and 2) to teacher competency development in the authentic evaluation learning for schools under Udon Thani office of primary education service area 3. The research consisted of 2 phrases as follows: Phase 1: study the factors and indicators of authentic assessment and study the current state and the desirable state of authentic assessment for schools under Udon Thani office of primary education service area 3. A samples group were 317 teachers with stratified random sampling was selected. Data analysis were the mean, standard deviation, current state and desirable condition then find the necessary and Sequential Needs Index (PNI). Then, study the best practice in the development of teacher competencies in the authentic assessment. Phase 2 write the first draft of guidelines for teacher competency development in the authentic assessment for schools under Udon Thani office of primary education service area 3.

The research results were as follow.

1. The results of the study factors and indicators of teacher competency development in the authentic evaluation learning for schools under Udon Thani office of primary education service area 3 founded that there were 7 factors and 44 indicators as follows: 1) 7 indicators for determination of the objective and authentic assessment. 2) 6 indicators for determination of criteria for authentic assessment. 3) 7 indicators for determining methods and evaluation tools for authentic assessment. 4) 5 indicators for framework of authentic assessment. 5) 5 indicators to present results of authentic assessment. 6) 9 indicators of workload determination of authentic assessment, and 7) 5 indicators of determination of the assessors.

2. The result of the study current state and the desirable state of teacher competency development in authentic assessment founded that the current state of teacher competency development in authentic assessment for schools under Udon Thani office of primary education service area 3 in each item were that current state was needed in average score while was the highest in the desirable state. 

3. The results of teacher competency development in authentic assessment guideline Under Udon Thani office of primary education service area 3 was “more” in the appropriate level which in “highest” in the possibility level. Teacher competency development in the authentic evaluation learning for schools under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3. Which the researcher has studied can be used as a guideline for teacher competency development in the authentic evaluation learning as well.

คำสำคัญ

การพัฒนาสมรรถนะครู, ด้านการประเมินผลตามสภาพจริง

Keyword

Teacher competency development, Authentic Evaluation

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093