...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 199-210
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 707
Download: 199
Download PDF
สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
States, Problems and Developments Guidelines of the student supporting system in school under the office of secondary educational service area 21
ผู้แต่ง
วุฒิพงษ์ พันทิวา, ไชยา ภาวะบุตร, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
Author
Wuttipong Pantiwa, Chaiya Pawabutra, Yaovalak Sutacort

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพ และปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2,185 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนผู้รับผิดชอบงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F–test (One–Way ANOVA) และ t-test ชนิด independent Samples

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก

2. ปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน อยู่ในระดับน้อย

3. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและจำนวนบุคลากรในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันและจังหวัดที่เป็นที่ตั้ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ปัญหาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน จำแนกตามขนาดโรงเรียนและจำนวนบุคลากรในโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน จังหวัดที่เป็นที่ตั้ง และระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 นำเสนอ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน

Abstract

This research aimed to investigate and compare states, problems of the student supporting system in schools under the Office of secondary Educational Service area 21 and seek Developments Guidelines of the student supporting system in school under the Office of secondary Educational Service area 21. The population consisted of 2,185 administrators, homeroom teacher. The sample comprised 175 administrators, homeroom teacher. A tool used was a set of 5-level rating scale questionnaire containing two parts : the states and problems of the student supporting system in school. The discriminative power ranged in value from .44 to .83 with reliability of .98 and .56 to .96 with reliability of .99 respectively. The statistics for data analysis were  percentage, mean, standard deviation, F-test (One-Way ANOVA) and t-test independent were employed to analyze data.

The findings were as follows:

1. The states of the student supporting system in school under the office of secondary educational service area 21 as perceived by the administrators, homeroom teacher, as a whole, was at the high level.

2. The problems of the student supporting system in school under the office of secondary educational service area 21 as perceived by the administrators, homeroom teacher, as a whole, was at the less level.

3. The states of the student supporting system in school under the office of secondary educational service area 21, classified by overall school size as a whole were different at as statistical significance of .01 level. In terms distance from school to office of Educational service area and number of personnel as a whole were different at as statistical significance of .05 level, in term positions and location province as a whole, were not different.

4. The problems of the student supporting system in school under the office of secondary educational service area 21, classified by overall school size and number of personnel as a whole were different at as statistical significance of .05 level, as perceived by location province and distance from school to office of Educational service area as whole, were not different.

5. The developments guidelines of the student supporting system in school under the office of secondary educational service area 21 presented in 4 aspects of development by: 1) Getting to know students individually, 2) Student screening, 3) Preventing and solving student problem and4) Student forwarding

คำสำคัญ

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนา

Keyword

The Student Supporting System, Problems and Developments Guidelines

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093