...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 131-141
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 469
Download: 180
Download PDF
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา
Factors Influencing Innovative Organization of Educational Institution under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง
พิษณุ ศรีกระกูล, สุชาดา นันทะไชย, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์
Author
Pisanu sikragoon, Suchada Nanthachai, Wisut Wichitputchraporn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านผู้นำนวัตกรรม ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์นวัตกรรม ปัจจัยด้านบุคลากรนวัตกรรม 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.956 ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 303 ชุด คิดเป็นร้อยละ 92.38 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ระดับปัจจัยด้านบุคลากรนวัตกรรม ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์นวัตกรรม และปัจจัยด้านผู้นำนวัตกรรม อยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา สามารถทำนายการเป็นองค์การนวัตกรรมได้ร้อยละ 77.40 โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าสัมประสิทธ์การพยากรณ์คือ ด้านผู้นำนวัตกรรม (b = 0.309) ด้านบุคลากรนวัตกรรม (b = 0.291) ด้านวิสัยทัศน์นวัตกรรม (b = 0.228) สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบคือ  Y = 0.702 + 0.309 + 0.291 + 0.228 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้  Y Z = 0.328(X1) + 0.315(X3) + 0.307(X2)

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate level of innovative organization in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province 2) investigate level of factors of innovative leader, innovative vision and innovative personnel in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province 3) investigate factors influencing innovative organization in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province.

The sample was the school administrators and teachers or 328 sample all together. Instrument used was a questionnaire with 0.956 reliability 303 completed questionnaire copies or 92.38% were returned. Data were analyzed by percentage, average mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of the research were as follows.

1. The level of being innovative organization in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province was at a high level both in overall and each individual aspect. Team working was the first priority represented how to be innovative organization in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province

2. The level of factors of innovative leader, innovative personnel and innovative vision in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province were at a high level both in overall and each individual item. The innovative personnel had the highest mean score followed by innovative vision and innovative leader respectively.

3. Factors influencing innovative organization in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province could be accounted for 77.40% by the predictors. Innovative Leader had the highest regression coefficient: (b = 0.309), followed by Innovative Personnel (b = 0.291) then Innovative Vision (b = 0.228) respectively. The forecasting equation of factors that influenced the Innovative Organization in the secondary school under the Secondary Educational Service Area Office 6, Chachoengsao Province in term of raw score was  Y  = 0.702 + 0.309 + 0.291 + 0.228 and standard score was

 Y  Z = 0.328(X1) + 0.315(X3) + 0.307(X2)

คำสำคัญ

องค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา, ผู้นำนวัตกรรม, วิสัยทัศน์นวัตกรรม, บุคลากรนวัตกรรม

Keyword

Innovative Organization, Innovative Personnel, Innovative Vision, Innovative Leader

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093