...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 91-99
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 345
Download: 160
Download PDF
การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต1
The Study of Learning Management in Primary Schools Under Pathumthani Primary educational service area office 1
ผู้แต่ง
กนกพร พอกพูน, ประมุข ชูสอน
Author
Kanokporn Porkpoon, Pramook Chusorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 327 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางจากตารางของ Krejcie and Morgan จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้กลุ่มขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติพื้นฐาน และ Modified  Priority  Needs Index: PNI modified 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านพัฒนาระบบสารสนเทศ รองลงมาคือ ด้านเครือข่ายร่วมพัฒนา และด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร 

2. สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ควรมีการจัดอบรมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ด้านเครือข่ายร่วมพัฒนา ควรมีการจัดทำโครงการสนับสนุนให้บุคลากรและเครือข่ายมีโอกาสได้ร่วมจัดทำหรือปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร สถานศึกษาควรสนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการนิเทศทางการศึกษาและการทำงานเป็นทีม 4) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูควรกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเชิงระบบ คิดวิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหาได้ 5) ด้านสภาพแวดล้อม/แหล่งเรียนรู้ ควรมีการออกแบบและปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในโรงเรียนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์

Abstract

This research aims to study current and desirable condition, needs assessment and guidelines for developing learning management in primary schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1.The sample group used in this research was 327 teachers in schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1, which determined the sample size from the finished table of Krejcie and Morgan.Stratified randomly random sampling by using the school size group as a random class. Used basic statistics and Modified Priority Needs Index: PNI modified for qualitative data used content analysis based on 5 key aspects.

The results of this study were:

1. Desirable condition of learning management in primary schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1 the average value was higher than the actual condition in all aspects.

2. Level of need assessment for learning management in primary schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1 priority from high to low were Information system development, network development and participation of personnel.  

3. Guidelines for developing learning management for primary schools under Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1 are as follow: 1) Information system development. There should be training for personnel to have knowledge and ability in using information technology. 2) Network participate in development. There should be a project to support the personnel and the network to have the opportunity to participate in the preparation or improvement of the school curriculum. 3)Personnel participation. There should encourage personnel to participate in educational supervision and teamwork.    4) Learning management that student centered. Teachers should encourage learners to think systematically, analyze and solve problems. 5) Environment / learning resources. There should design and improve the landscape within the school to suit the environment and utilization.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้, ความต้องการจำเป็น

Keyword

Learning Management, Need Assessment

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093