บทคัดย่อ
การวิจัยในนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง เพศ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหาร วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และอาจารย์ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 169 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร 77 คน อาจารย์ 92 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากแบบใส่คืน (With Replacement)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะหลักมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.46 – 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95และแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.69 – 0.88และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ทดสอบความแปรปรวนโดยใช้ One-Way ANOVA และหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson-Product Moment Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ด้านสมรรถนะหลัก และด้านสมรรถนะทางการบริหารโดยรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยผู้บริหารมีความคิดเห็นมากกว่าอาจารย์
3. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำแนกตามเพศ ด้านสมรรถนะหลักและด้านสมรรถนะทางการบริหารโดยรวมและรายด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน
4. ผลการเปรียบเทียบพบว่า สมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ด้านสมรรถนะหลักและด้านสมรรถนะทางการบริหาร โดยรวมและรายด้าน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
5. ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารวิทยาลัยครูสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งด้านสมรรถนะหลัก และด้านสมรรถนะทางการบริหาร
Abstract
The purposes of this research were:1) to examine the performance competencies of administrators in Savannakhet Teacher Training College, Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR); 2) to compare the performance competencies of administrators, classified by position, gender, and work experience;3) to propose the guidelines for improving the performance competencies of administrators. The samples were 77 administrators and 92 teachers in Savannakhet Teacher Training College, Lao PDR, yielding a total of 169 in the academic year 2018. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and followed by the means of simple random sampling with replacement. The tools for data collection were two sets of 5-point scale questionnaires: core competencies and managerial competencies containing the discriminative power from0.46 to 0.86 with a reliability value of 0.95, and0.69to 0.88 with a reliability value of 0.97, respectively. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVAมand Pearson-Product Moment Coefficient.
The findings were as follows:
1. The performance competencies of administrators in Savanna khet Teacher Training College, Lao PDR, as a whole and each aspect, were at a high level.
2. The comparison results of administrators’ performance competencies in Savanna khet Teacher Training College, Lao PDR, classified by position, revealed that core competencies and managerial competencies as a whole and each aspect were found significantly different at the .01 level. The administrators had more agreement than teachers.
3. The administrators’ performance competencies in Savanna khet Teacher Training College, Lao PDR, classified by gender, revealed that core competencies and managerial competencies as a whole and each aspect were not different.
4.The comparison results of administrators’ performance competencies in Savanna khet Teacher Training College, Lao PDR, classified by work experience, revealed that core competencies and managerial competencies were found significantly different at the .05 level.
5. Experts have proposed the guidelines for improving of the performance competencies of administrators in Savanna khet Teacher Training College, Lao PDR, including core competencies and managerial competencies.
คำสำคัญ
สมรรถนะ, การปฏิบัติงานของผู้บริหารKeyword
Performance, Competency of Administratorsกำลังออนไลน์: 94
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,964
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,163
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093