...
...
เผยแพร่: 28 มิ.ย. 2563
หน้า: 31-39
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 727
Download: 183
Download PDF
ปัญหาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ
Problems on the Implementation of Teachers’ Development Project with Professional Learning Community (PLC) of the Schools under the Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
อโณชา พลวงนอก, เพ็ญนภา สุขเสริม
Author
Anocha Pluangnok, Pennapa Sukserm

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อปัญหาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ จำแนกตามประสบการณ์การดำเนินงานโครงการ และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 1,000 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .226-.732 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .966 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมติฐานโดยใช้ t-test แบบ Independent Samples สำหรับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูต่อปัญหาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมที่จำเป็นต่อความเป็นชุมชนแห่งวิชาชีพในสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ ด้านความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างใหม่ของโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ และด้านเงื่อนไขด้านการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ ตามลำดับ

2. ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การดำเนินงานโครงการต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูด้วย PLC ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ มีดังนี้ ครูควรนำประเด็นปัญหาที่พบในการ ปฏิบัติงานด้านการสอนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนมาแลกเปลี่ยน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาข้อสรุปต่อปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหา สถานศึกษาควรจัดเวลาว่างให้ครูผู้สอนตรงกันเพื่อเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนต่างระดับชั้นหรือต่างวิชาได้สนทนาหารือและวางแผนร่วมกันในการจัดกิจกรรม PLC และควรสร้างความเชื่อในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ให้บุคลากรในโรงเรียนยึดถือร่วมกันโดยการปรับบทบาทและสร้างความเชื่อชุมชนแห่งการรู้วิชาชีพจากทุกภาคส่วนให้มีวิสัยทัศน์ร่วมกันคำสำคัญ: ปัญหาการดำเนินงาน, ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ

Abstract

This research aims to: 1) to study the level of the opinions towards the problems on the implementation of teachers’ development project with Professional Learning Community (PLC) of the schools under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office (CPM PESAO), 2) to compare the level of the teachers’ opinions towards the problems on the implementation of teachers’ development project with PLC of the schools under CPM PESAO classified by the implementation experiences, and 3) to study the recommendation for the implementation of the teachers’ development project with PLC of the schools under CPM PESAO. The samples were 1,000 teachers under CPM PESAO in the first semester of the academic year 2018. The sample size was determined by using Krejcie and Morgan table and then employed simple random sampling. The research instruments were 5-rating scale questionnaires with the discrimination range from .226 - .732 and the reliability of .966 and a structured interview. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and the hypothesis was tested by using t-test (Independent Samples). The interviewing data were analyzed by using content analysis.

The research were as follows:

1. The level of the teachers' opinions on the implementation of the teacher development project with PLC of schools under CPM PESAO in overall was at a moderate level. When considering each aspect, it found that the highest mean scores were the activities that are essential to the PLC in the school, followed by the need to adjust the new structure of the learning school, and the conditions for changing organizational culture, respectively.           

2. Teachers' opinions on the implementation of the teacher development project with PLC of the schools under the CPM PESAO classified by the PLC's implementation experiences not different and

3. Recommendation for the teachers’ development project with the PLC of the schools under CPM PESAO are as follows: Teachers should share the teaching problems they encounter with their colleagues, and then discuss and analyze them to get a conclusion and help each other to solve the problems; schools should provide the teachers’ free time to match their opportunity to share the ideas among the teachers of different levels and subjects and to discuss and plan the PLC activities together; schools should create the beliefs for the personnel in conducting the PLC to cooperate and adjusting the roles of all sectors in order to share vision.

คำสำคัญ

ปัญหาการดำเนินงาน, ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ

Keyword

Problems on the Implementation, Professional Learning Community (PLC), The Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093