บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการ เพื่อวิเคราะห์การบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพ (Deming cycle: PDCA) และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน, ศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 คน ผู้รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 1 คน ครู ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล จำนวน 11 คน และครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” จำนวน 10 คน รวม 24 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการ พบว่า การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรสถานศึกษา และครูไม่มีความรู้ในด้านการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาเท่าที่ควรครูบางท่านไม่เข้าใจในการวัดผลประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ปรับปรุง 2559) และไม่มีเครื่องมือวัดผลกลางภาคเรียนที่เป็นแกนกลาง รวมไปถึงการเข้าร่วมการทำกิจกรรมและการเข้าสอบของผู้เรียนเข้าสอบ เป็นต้น เครื่องมือการนิเทศที่ไม่เทียบเคียงกับส่วนกลางหรือแห่งอื่น และผู้รับการนิเทศไม่ได้นำผลจากการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนมากเท่าใด
2. การวิเคราะห์การบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (สาระท้องถิ่น) ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา สถานศึกษามีการดำเนินงานตามกระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพ (Deming cycle: PDCA) แต่ยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์ด้วย SWOT Analysis ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่นำไปสู่แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการต่อไป
3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาควรจัดให้มีโครงการอบรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ครูผู้จัดการเรียนการสอนโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามาให้คำแนะนำ และตรวจสอบหลักสูตรสถานศึกษา อีกทั้งควรนำชุมชนเครือข่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรมีการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุง หลักสูตรสถานศึกษาและควรจะทำเป็นประจำทุกปีการศึกษาเพื่อเป็นการพัฒนาหลักสูตรให้ทันต่อยุคสมัย ควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบ PLC ในด้านการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล การนิเทศ ติดตามนักศึกษา รวมไปถึงการจัดโครงการสอนเสริม โครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมในรายวิชาที่ยาก และไม่มีความถนัดในการจัดการเรียนการสอน ควรมอบหมายให้ครูผู้ดูแลศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลต่างๆ ครูนิเทศก์ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” เข้านิเทศการจัดการเรียนการสอน ร่วมกับภาคี เครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ได้การนิเทศภายในสถานศึกษาที่เป็นไปตามบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่งอีกทั้งควรทำเครื่องมือการนิเทศภายในสถานศึกษา ให้เทียบเคียงกับที่อื่น และส่วนกลาง เพื่อให้ได้การรายงานการนิเทศที่มีรูปแบบเดียวกัน และจากการประเมินผลการนิเทศ เมื่อนำผลนั้นมาทำการพัฒนา ปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ครูควรทำการรายงานผลให้แก่สถานศึกษาทราบทุกครั้งในวันประชุมประจำเดือน เพื่อกระตุ้นให้ครูและเครือข่ายเกิดกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
Abstract
The objective of this research was to study the condition of Academic Administration of Phrao District Non-Formal and Informal Education Centre, Chiang Mai Province. The researcher analyzed the Academic Administration of Phrao District Non-Formal and Informal Education Centre by using Quality Cycle Management Process (Deming Cycle: PDCA) in order to suggest the development approach, the Academic Administration of the Non-Formal and Informal Education Centre. The 24 research information contributors are: 1) Board of the Phrao District Non-Formal and In-Formal Education Centre, Chiang Mai Province 2) Educational Supervisor of Chiang Mai Provincial Office of the Non-Formal and In-Formal Education 3) Academic Administrator 4) 11 teachers from the Non-Formal and Informal Education District Centre 5) 10 teachers from Mae Fah Luang Hill Area Community Learning Centre. The data were collected through in-depth interview and group discussion. The data were analyzed by Meta-analysis and Meta-synthesis.
The research were found that:
1. Problem condition of Academic Administration of the Phrao District Non-Formal and Informal Education Centre, Chiang Mai Province are: School curriculum need to be improve and teachers do not have enough knowledge to develop the school curriculum, Some teachers do not toughly understand the Assessment and Evaluation according to Non-formal Education Curriculum, Basic Education Level B.E. 2551 (updated on 2016). There were no referenced for midterm measurement tool and low in the number of the student's activities participation or taking an exam. Educational supervise within the school: There were no referenced of guidelines for school supervision and teachers at the school do not use enough of the supervision results to develop their teaching and learning management.
2. Analysis of academic administration in the development of educational curriculum (local contents), measurement of assessment and supervision in the field of education; The school has been operating in the process of quality circuit management (Deming cycle: PDCA) but it’s not perfect, when analyzed with SWOT Analysis has been informed of the information leading to the development of academic management.
3. The Academic Administration Development Approach for Phrao District Non-Formal and Informal Education Centre, Chiang Mai Province are: they should organize a training program for school curriculum development to create knowledge for teachers by inviting experts in school curriculum development to help suggest and inspect the school curriculum. Moreover, the community network should be more involved in school curriculum development. In addition, the school curriculum implementation should be evaluated to lead to the development and improvement of the curriculum and should be performed annually in order to develop the curriculum to be modern. They should organize a learning exchange in the form of PLC on teaching and learning, measurement and evaluation of management to present teacher best practice which can be applied for solving problems. Supplementary courses should be organized for difficult subjects or organize the programs which can help improve student achievement in every semester. Teachers should be sent to attend courses that are difficult or those that do not have the expertise to apply knowledge in teaching and learning. Should assign teachers of the Non-Formal and Informal Education Centre in each district, school supervisor of Mae Fah Luang Hill Area Community Learning Centre participated in the supervision of teaching and learning with network partners in the area for the internal supervision to be following the context of each school. In addition, the internal supervision tools should be made comparable to other school and centrally references to obtain the same supervision. Regarding the evaluation of supervision, once teacher improves the progress following the results, teachers should report the progress to the school every time at the monthly meeting to encourage teachers to have a learning process and to solve problems in their teaching and learning.
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการKeyword
The Academic Administration Development Approachกำลังออนไลน์: 48
วันนี้: 2,424
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,623
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093