...
...
เผยแพร่: 28 มี.ค. 2563
หน้า: 247-256
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 690
Download: 195
Download PDF
การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง
The Administration of Students Supporting System for Ban Doikham School Hot District Chaing Mai Province Based on Deming Cycle Process
ผู้แต่ง
เทิดศักดิ์ ยะยอง, สนิท หาจัตุรัส
Author
Terdsuk Yayong, Sanit Hajaturat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง และเพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม และการสนทนากลุ่มย่อยจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัญหาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (1) ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการวางแผนการทำแบบเยี่ยมบ้านของนักเรียน (2) ครูขาดองค์ความรู้และความเข้าใจในการวางแผนจัดทำแบบการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียน ไม่มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนที่ชัดเจน และขาดการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น (3) ขาดความหลากหลายในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน (4) วิธีการแก้ปัญหานักเรียนของครูที่รับผิดชอบไม่ค่อยมีประสิทธิผล และไม่ได้รับการพัฒนา (5) ขาดการจดบันทึกผลการส่งต่อนักเรียนที่เป็นร่องรอยหลักฐาน ยังไม่มีแบบรายงานการประเมินผลการส่งต่อของโรงเรียนที่เห็นเป็นประจักษ์

2. แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง พบว่า (1) สถานศึกษาควรจัดการประชุม วางแผนคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา สร้างความตระหนัก ให้ความรู้ คำแนะนำ วิธีการดำเนินการแก่ครูผู้ปฏิบัติในการทำแบบเยี่ยมบ้านของนักเรียนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียน (2) ควรวางแผนการจัดทำเครื่องมือ สื่อ นวัตกรรม สำหรับการดำเนินการ การคัดกรองนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างดำเนินการ มีการปรับปรุงแก้ไขการทำงานตลอดเวลา มีการออกแบบกรอบ มาตรฐาน เกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแล และดำเนินการปรับปรุง แก้ไขพัฒนา จุดเด่น จุดด้อย จุดที่ควรพัฒนาจากการนิเทศ ติดตามร่วมกับแผนที่ได้วางไว้ อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง (3) สถานศึกษาควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หน่วยงานต่างๆ เพื่อระดมทรัพยากรคน งบประมาณ ในการสนับสนุนกิจกรรมให้มีความหลากหลาย (4) ควรวางแผนการตรวจสอบ นิเทศ ติดตาม กำกับ ดูแล ร่องรอยหลักฐาน รูปภาพ ประกอบการดำเนินการกิจกรรม และสรุปผลการประเมินกิจกรรม ถ้าเกิดปัญหาในกิจกรรมให้ย้อนกลับไปวางแผน ลงมือปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไข เป็นวงจรพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อย่างเป็นระบบ (5) ควรตรวจสอบระหว่างการดำเนินการว่ามีปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการหรือไม่ มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร นำเครื่องมือที่ได้จากการตรวจสอบในการดำเนินการกิจกรรมไปประเมินผล ถ้าเกิดปัญหาให้หาสาเหตุของปัญหา แล้วหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข ถ้าผลได้ตามมาตรฐานที่วางแผนไว้ให้ธำรงไว้ และพัฒนาต่อยอด

Abstract

The purpose of this research is to evaluate the student’s caring and support system in the Ban Doi Kham School at the Hot District in Chiang Mai province. Here management guidelines for the supporting system based on Deming Cycle is proposed. Due to the Deming Cycle, this research will be relied on field interviews of a sample group consisting and questionnaires. Finally, all data are analyzed and synthesized.

Results of this research are the in more detail.

1. The problems of student management at the Ban Doi Kham School, based on the Deming Quality Cycle Management process are: (1) The teachers lack knowledge and understanding to make a good plan for their student’s home visits. (2) The teachers lack knowledge and understanding for planning, creating student data analysis forms. Therefore, there is no clear relation with any plan and lacking evaluation to improve and implement. (3) Activities used to promote the student talent are still not varieties. (4) The responsible teachers should be able to solve the problems effectively and provide some development. (5) There is no record for a student evaluation and evaluation forms are not passed on. This leads to a loss in the data base.

2. Following the guidelines of the Deming Quality Cycle Management process for the management of the student caring system in Ban Doi Kham School, we found that: (1) The school administrators should organize meetings with faculty and educational personnel, raise awareness, educate, and give advice to teachers who visit students at home based on problems and needs of admission. (2) The school should create innovative media tools for implementation. The student screening process relies on analysis of the student data from systematic data collections. During the data collections we should always modify and improve the work procedure as well. There are standard framework tool design criteria used for inspection, supervision, monitoring, improvement, strength, weakness. A process should be developed to ensure that the plan is systematic and continuous. (3) The school administrators should cooperate with parents and various departments to mobilize resources, people, and budgets to support diverse activities. (4) the school  should be formalized including inspection, monitoring, trace, evidence and pictures to summarize activities and evaluation. In case problems occur during activities, the plans have to be reviewed and corrected as soon as possible and be checked and improved systematically. (5) Finally, the process should be checked to see if there are any problems or obstacles and how to solve them. If there is a problem, we have to find the cause and proper solution. If the results meet our standards we keep and develop them continuously.

คำสำคัญ

การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

Keyword

The Administration of Students Supporting System

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093