...
...
เผยแพร่: 28 มี.ค. 2563
หน้า: 229-238
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 1492
Download: 318
Download PDF
บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
The Roles of school administrators in the development of teacher Competencies in the 21st Century under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 5
ผู้แต่ง
มลฤดี ศรีสานต์, ทองสุข วันแสน, ประสิทธิ์ นิ่มจินดา, พรรณี สุวัตถี
Author
Monrudee Srisan, Thongsook Wansan, Prasit Nimjinda, Pannee Suwatthee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 วิธีการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนนี้ใช้การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามขนาดโรงเรียน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที (t-test Independent) และเปรียบเทียบตามประสบการณ์ทำงาน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาแนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยการสัมภาษณ์ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปในเชิงบรรยาย

ผลการวิจัย พบว่า

1. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ตามความ จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการทำงานของผู้บริหาร โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. แนวทางพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ด้านสมรรถนะหลักมี 3 ด้านที่ควรได้รับการพัฒนาโดยเร่งด่วน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง  ด้านบริการที่ดีและด้านการทำงานเป็นทีมและสมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน มี 3 ด้าน ที่ควรได้รับการพัฒนาโดยเร่งด่วน คือ ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านภาวะผู้นำ และด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน

Abstract

The purposes of this research were to 1) Study the role of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century, 2) compare the role of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century classified by schools size and the work experience of the school administrators and 3) study the guidelines for development the role of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century. The research was conducted 2 stages; the first stage was to study roles of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century. The samples were 144 peoples. The tool of research was questionnaires. The data analysis in this stage was frequency, percentage, means, standard deviations, comparing the roles of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century classified by schools size was analyzed by t-test independent samples and classified by work experience of the school administrators was analyzed by One-way ANOVA. The second stage was to study the guidelines for development the role of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century. The samples were 12 peoples. The tool of the research was interview form. Data was analyzed by content analysis and narrative summarized.

The research findings were as fallows;

1. The role of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century in overall was at a high level.

2. The comparison of the roles of the school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century classified by schools size and work experience of the school administrators in overall were not statistically significant difference at 0.05 level.

3. The guidelines for development the role of school administrators in the development of teacher competencies in the 21st century were found that; the core competency should development in the first tracks were 3 aspects, there were self- development, service mind and teamwork, the functional competency should development in the first tracks were 3 aspects, there were classroom management, leadership and relationship& community collaborative.

คำสำคัญ

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, แนวทางพัฒนา, สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21

Keyword

roles of school administrators, development guidelines, teacher competencies in the 21st century

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093