บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยและ 3) พัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัย ระยะที่ 3 พัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) โดยใช้วิธีการฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูปฐมวัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง คู่มือการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูปฐมวัย แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติกิจกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) พบว่า สภาพปัญหาของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม มีสภาพปัญหาระดับมาก ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กมีสภาพปัญหามากที่สุด และความต้องการของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) พบว่าโดยภาพรวมมีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ระดับมากที่สุด ครูปฐมวัยมีต้องการเข้ารับการอบรมเรื่องการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) มีระดับความต้องการมากที่สุด
2. แนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 คือ การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education)
3. พัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) พบว่า 1) ผลการศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ครูปฐมวัย ก่อนและหลังเรียน พบว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.11 คิดเป็นร้อยละ 53.69 และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 26.21 คิดเป็นร้อยละ 87.38 ดังนั้นคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษาทักษะการปฏิบัติกิจกรรมของการฝึกอบรมในแต่ละแผนการฝึกอบรม โดยรวมมีระดับทักษะระดับมาก และ3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าร่วมพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
This study was conducted with the objectives to 1) study the problems and needs of early childhood teachers. 2) explore approaches in early childhood teacher development 3) develop in early childhood teacher in the 21st Century in STEM Education Learning Experience Provision. There were 3 phases in this study. The first phase was the studying of problems and needs of early childhood teachers. The second phase was the exploration of approaches in early childhood teacher development, The third phase was develop early childhood teachers used included a Training, which was conducted on the target group of 30 early childhood teachers The tools employed were a questionnaire on problems and needs of early childhood teachers, semi-structured interview form, knowledge test, activity participation observation form and satisfaction survey form in Teachers Training manual for early childhood teachers development. Statistics applied in data analysis were mean, standard deviation, percentage and t-test for dependent samples.
The findings are as follows.
1. From the outcomes of the study on problems and needs of early childhood teachers in an overall, it is found that problems of early childhood teachers in the 21st century is at a high level, the activities to promote children's development and learning The most problematic condition and the highest need is self-development, Early childhood teachers would like to receive training on STEM Education experience has the most demanding level.
2. From the study on approaches in early childhood teacher development was Training to the development of early childhood teachers in the 21st century in STEM education learning Experience provision.
3. From the outcomes of the development in early childhood teacher in the 21st Century in STEM Education Learning Experience Provision found that, 1) On the results of participating teachers' knowledge and understanding before and after training, the score before training was at 16.11, which equals to 53.69 percent, and the score after training was at 26.21, which equals to 87.38 percent. Therefore, the score of participants after training was higher that before training at the .05 level of statistical significance, 2) The overall result of activity participation skills in each training phase is at a high level, and 3) The overall results of the satisfaction of early childhood teachers in the 21st century in the development is at a high level.
คำสำคัญ
การพัฒนาครูปฐมวัย, ครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, การจัดประสบการณ์, สะเต็มศึกษาKeyword
Early Childhood Teacher Development, Early Childhood Teacher in the 21st Century, Learning Experience Provision, STEM Educationกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 96
เมื่อวานนี้: 5,264
จำนวนครั้งการเข้าชม: 39,407
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093