บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการทำ วิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนในสังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานีเป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนจำนวน 156 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสวนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ดังนี้ คือการนำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้ รองลงมาคือ การสำรวจเเละการวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดวิธีการในการแก้ไขปัญหาเป็นลำดับสุดท้าย
2. แนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วยครูวิเคราะห์และเลือกปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงศักยภาพด้านความรู้ประสบการณ์เวลาและภาระความรับผิดชอบ ควรสร้างเครือข่ายครูและนักวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นกัลยาณมิตร ส่งเสริมให้ครูใช้เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหาโดยวิธีการเชิงระบบเพื่อให้เห็นองค์ประกอบและภาพรวมของปัญหา จัดสัมมนาให้ครูสามารถนำขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลตรงตามจุดมุ่งหมายการวิจัยมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานการ ทำวิจัยในชั้นเรียน ตลอดทั้งจัดเวทีให้ครูได้นำเสนอข้อมูลประกอบที่ใช้อ้างอิงการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา
Abstract
The purpose of this research was to study conditions and guidelines for conducting classroom research in school Under the Local Government Organizations Pathum Thani Province. The research used descriptive research methodology. The sample consisted of 156 teachers which determines the sample size from the finished table. Data were collected using 5-level rating scale questionnaire, analyzed by computer use descriptive statistics calculate the percentage, mean, standard deviation.
The research found that
1. State of teachers classroom research in schools Under the Local Government Organizations Pathum Thani Province. Overall, there were high level of research in the classroom. Sorting from descending order to 3, as follows: using methods or innovations, followed by surveys and problem analysis, and the final method for resolving problems.
2. Guidelines for conducting teachers classroom research consists of teachers analyzing and selecting problems in doing classroom research creatively, taking into account the potential of knowledge, experience, time and burden of responsibility and should create network of teachers and researchers for the development of educational quality in a friendly manner. Encourage teachers to use problem analysis tools by systematic approach to get elements and overview of problems. Organize seminars for teachers to use data collection procedures in accordance with research objectives, flexibility along with providing forum for teachers to present information that was used to refer the study and discuss the results of study.
คำสำคัญ
การทำวิจัยในชั้นเรียน, แนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนKeyword
State of teachers classroom research, Guidelines for teachers classroom researchกำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 104
เมื่อวานนี้: 5,264
จำนวนครั้งการเข้าชม: 39,415
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093