...
...
เผยแพร่: 28 มี.ค. 2563
หน้า: 75-83
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 562
Download: 189
Download PDF
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2
Administrative Factors Affecting Chinese Language Management of Secondary Schools Under the Office of Secondary Educational Service Area 1 And 2
ผู้แต่ง
ปิยวรรณ ภัทรพิบูล, อัจฉรา นิยมาภา, สนั่น ประจงจิตร
Author
Piyawan Phatharaphiboon, Achara NIyamabha, Sanan Prachongchit3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2 2) ศึกษาการจัดการด้านการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2 และ 3) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูชาวไทยสอนภาษาจีน จำนวน 118 คน ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืน 110 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.22 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และเขต 2 โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับสูงสุด

2. การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 2 ในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับสูงสุด

3. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน สามารถนำมาใช้พยากรณ์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในภาพรวม มีประสิทธิภาพของการพยากรณ์ เท่ากับ 0.588 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบดังสมการ  =  1.155+ 0.560(X5) + 0.162(X3) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานดังสมการ  = 0.597(X5) + 0.229(X3)

Abstract

ชThe objectives of this research were to: 1) study the administrative factors of Chinese language learning.of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 1 and 2 2) study the management of Chinese language learning of secondary schools the Office of Secondary Educational Service Area 1 and 2 and 3) study the administrative factors affecting Chinese language learning management of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 1 and 2. A Sample was 118 teaching Chinese school teachers. The data were collected through questionnaire survey of 118 school teachers. Get a complete questionnaire, return 110 copies was 93.22 percent. Analyses of the data were performed with statistical software and expressed in means, and standard derivations with the discriminant values were between and reliability, Pearson’s product moment correlation, and stepwise multiple regression analysis

Findings of this study were as follows:

1. School administrative factors were found as individual and total aspects at the high level, from which the approval of the personal was in the highest level.

2. Chinese language teaching and learning management in the overall rating and each aspect is at a high level, from which the school teachers was in the highest level

3. The approval of the preparation of course material, Administrative factors affecting Chinese language learning management of secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 1 and 2 was 0.588 with statistically significance at a level 0.01 as show by raw score:  = 1.155+ 0.560(X5) + 0.162(X3) and the equation of standard score  = 0.597(X5) + 0.229(X3)

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหาร, การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน, โรงเรียนมัธยมศึกษา

Keyword

The administrative factors, Chinese language learning management of secondary schools, secondary school

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093