บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 3) วิเคราะห์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำนวน 338 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามสถานศึกษา (proportional stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม เท่ากับ 0.96 และด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร อยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมด้านการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมด้านการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมด้านการตั้งเป้าหมายร่วมกัน
2. คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู อยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วยด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านภาวะอิสระจากงาน ด้านสถานที่ทำงานปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม
3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ (X1) ด้านการตั้งเป้าหมายร่วมกัน (X2) ด้านการดำเนินงาน (X3) และด้านการรับผลประโยชน์ (X4) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูโดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y' tot=0.51+0.38 (x4)+0.34(X2)+0.09(x3)+0.06(x1)
Abstract
The research aimed to: 1) study level of participatory administration of school administrators under the Secondary Education Service Area Office 10; 2) study level of quality of working life of government teachers under the Secondary Education Service Area Office 10; and 3) analyze participatory administration of school administrators considered as the factor affecting quality of working life of government teachers under the Secondary Education Service Area Office 10. The samples were 338 government teachers derived by proportional stratified random sampling as distributed by school. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with the Content Validity Index (CVI) ranged from 0.67 to 1.00. The validity of the questionnaire in aspects of participatory administration was equal to 0.96. and quality of working life of government teachers was equal to 0.98. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, participatory administration of school administrators was at a high level. These aspects were participation in operations, Participative decision-making (PDM), participation in benefits, and participation in mutual goal-settings.
2. Overall and in specific aspects, quality of working life of government teachers was at a high level. These aspects were progress and stability in work, officers’ capability development, social relations, work independence, safe and sanitary workplace, and justified and sustainable income.
3. Participatory administration in aspects of decision-making (X1), mutual goal-settings (X2), operations (X3), and benefits (X4) together predicted quality of working life of government teachers at the percentage of 68.00 with statistical significance level of .05. The regression equation was Y' tot=0.51+0.38 (x4)+0.34(X2)+0.09(x3)+0.06(x1)
คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, คุณภาพชีวิตการทำงานKeyword
Participatory management, Quality of work lifeกำลังออนไลน์: 31
วันนี้: 2,243
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,442
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093