...
...
เผยแพร่: 28 มี.ค. 2563
หน้า: 33-42
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 7918
Download: 171
Download PDF
รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการจัดการศึกษาสำหรับเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน
The Internal Supervision Model for Small-Size School under Office of Basic Education Commission Based on Educational Management Approach for Highland Area in Upper Northern Region
ผู้แต่ง
วิไลลักษณ์ วชิรสกุลโชค, ประภาส ณ พิกุล, สุวดี อุปปินใจ, สมบูรณ์ อริยา
Author
Wilailuck Wachirasakulchok, Praphat Na Phikun, Suwadee Ouppinjai, Somboon Ariya4

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 5ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษากรอบแนวคิดรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน และการจัดการศึกษาสำหรับเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน โดยการศึกษา วิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพของการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้แบบสอบถาม สอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครูวิชาการ และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กบนพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน จำนวน 338 คน และขั้นตอนที่ 3 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยผู้วิจัยสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก (ร่างที่ 1) ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและยืนยันด้วยแบบตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ (ร่างที่2) โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 17 คน และ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการนิเทศของภายในโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ วิธีการดำเนินงานของการนิเทศ ด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ หลักการของการนิเทศ

2. รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดการจัดการศึกษาสำหรับเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กลไกการดำเนินการของรูปแบบ 4) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ 5) แนวทางการประเมินรูปแบบ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ

3. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่นำเสนอมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้

Abstract

This research aimed to 1) study the conditions of supervision in small size schools; 2) develop the internal supervision model for small size schools under Office of the Basic Education Commission based on educational management approach for highland area in upper northern region; 3) evaluate the internal supervision model for small size schools. The study was divided into 5 stages: 1) Review the internal supervision model and educational management approach for highland area in upper northern region by means of document analysis and focus-group discussion with 7 experts. 2) Study the desirable conditions by using questionnaire and interview with 338 samples comprising administrators, academic teachers, and teachers from small size schools in upper northern region. 3) Develop the internal supervision model for small size schools (draft 1). 4) Review and validate model (draft 2) by 17 stakeholders. And 5) Evaluate suitability and feasibility of the model by 7 experts.

The results revealed that:

1. The conditions of the internal supervision in small size schools found that the aspect with the highest need is the methods for operating the supervision and the least requirement is the principles of supervision.

2. The main elements of the internal supervision model for small size schools in highland area of upper northern region were: (1) Principles of the Model (2) Objectives of the Model (3) Mechanisms for Operating the Model (4) Methods for Operating the (5) Guidelines for Evaluating the Model (6) Success Conditions of the Model.

3. The results of the evaluation of the internal supervision model for small size schools that are presented are appropriate and feasible.

คำสำคัญ

รูปแบบการนิเทศภายใน, โรงเรียนขนาดเล็ก, การจัดการศึกษาสำหรับเขตพื้นที่สูง

Keyword

Internal Supervision Model, Small Size School, Educational Management Approach for Highland Are

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093