บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDLเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนนิคมน้ำอูนเจริญวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t-test dependent samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 76.54/79.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL อยู่ในระดับมาก
Abstract
ABSTRAC
The purposes of the study were 1) to develop efficiency of lesson plans by using the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique on topic rate of chemical reaction for Matthayomsuksa 5 students on the efficiency of 75/75, 2) to compare the science process skills of Matthayomsuksa 5 students before and after using lesson plans the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique, 3) to compare learning achievement of Matthayomsuksa 5 students before and after using lesson plans the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique, and 4) to study the satisfaction of Matthayomsuksa 5 students after using lesson plans the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique. The sample of this study consisted of 30 Matthayomsuksa 5 students (class 5/1), Nikomnam-ooncharoenwittaya School, Secondary Educational Service Area Office 23, during the second semester of academic year 2017. They were randomly selected by the cluster random sampling technique. The instruments for the study were included lesson plans the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique, science process skills test, learning achievement test, and satisfaction evaluation toward the constructed materials. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test (dependent samples).
The results of this study were as follows:
1. The efficiency of lesson plans by the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique topic rate of chemical reaction for Matthayomsuksa 5 students was 76.54 and 79.67 percent, respectively. The average percentage means of the constructed materials exceeded the expected criterion. (75/75)
2. The science process skills of Matthayomsuksa 5 students after using lesson plans by the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique were higher than before using constructed materials at significant level of .01.
3. The learning achievement of Matthayomsuksa 5 students after using lesson plans by the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique were higher than before using constructed materials at significant level of .01.
4. The satisfaction of Matthayomsuksa 5 students toward lesson plans the Cooperative Learning STAD Technique with KWDL Technique were at the high level.
คำสำคัญ
เทคนิค STAD, เทคนิค KWDL, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ความพึงพอใจKeyword
STAD technique, KWDL technique, science process skills, satisfactionกำลังออนไลน์: 92
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,945
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,144
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093