...
...
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2562
หน้า: 278-288
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 698
Download: 181
Download PDF
การศึกษาแนวทางการยกระดับศูนย์เด็กเล็กให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ : ภาคเหนือ
The Study on Guidelines for Upgrading Child Care Centers to Meet the National Quality Standard : Northern Region
ผู้แต่ง
พิทยาภรณ์ มานะจุติ, อภิญญา มนูญศิลป์, ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์, ดวงใจ เนตรตระสูตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการยกระดับศูนย์เด็กเล็กตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ และศึกษาผลการยกระดับด้านการบริหารจัดการด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้และด้านคุณภาพเด็ก ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์เด็กเล็กใน 8 จังหวัดภาคเหนือรวม 36 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ดูแลเด็กจำนวน 24 คน และเด็กปฐมวัยในชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็กจำนวน 360 คน สุ่มมาใช้ในการศึกษาโดยการเลือกแบบเจาะจงจารศูนย์เด็กเล็กที่ผลประเมินระดับต้องพัฒนาควรพัฒนาและระดับพอใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประเด็นสนทนากลุ่มแนวทางการยกระดับศูนย์เด็กเล็ก ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้บริหารและผู้ดูแลเด็ก แบบประเมินตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ แบบสอบถามเพื่อประเมินความคิดเห็นต่อการยกระดับ แบบสังเกตและประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็ก และแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการดำเนินงานของผู้ดูแลเด็ก การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการยกระบบคุณภาพ ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการยกระดับ และพิจารณาความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติแล้วนำมาปรับปรุงระยะที่ 3 ประเมินผลการยกระดับมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. แนวทางการยกระดับมีโครงสร้างเชิงระบบครอบคลุมปัจจัยตัวป้อน กระบวนการและผลลัพธ์ใน 3 ด้าน ได้แก่ด้านการบริหารจัดการมี 4 องค์ประกอบ คือ การจัดทำแนวทางการยกระดับแบบมีส่วนร่วม และพัฒนาประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบ การปรับพื้นฐานทักษะปฏิบัติระดับผู้บริหาร การจัดหาสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตนเองของผู้บริหารและผู้ดูแลเด็ก การนิเทศแบบผสมโดยกระบวนการ Coaching & Mentoring และระบบสื่อสารออนไลน์ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ 3 องค์ประกอบ คือ การเรียนรู้เชิงปฏิบัติด้วยตนเอง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนในห้องเรียนต้นแบบด้านคุณภาพเด็กมี 2 องค์ประกอบ คือ แผนการจัดประสบการณ์ของผู้ดูแลเด็ก โครงการและกิจกรรมเสริมหลักสูตรของผู้เรียน

2. ผลการยกระดับที่มีผลต่อการบริหารจัดการ การจัดกระบวนการเรียนรู้และคุณภาพเด็ก พบว่า

2.1 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติ มีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นทุกด้านคะแนนก่อนดำเนินงาน 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 53.77 คะแนน อยู่ในระดับควรพัฒนา หลังการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.86 คะแนน อยู่ในระดับดี

2.2 ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความพึงพอใจต่อแนวทางการยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก (\bar{x} =4.36 และ S.D.=0.44)

2.3 ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้ดูแลเด็กโดยใช้แบบสังเกตและประเมินคะแนนเฉลี่ยรวมพฤติกรรม 3 ด้าน ได้คะแนนรวมอยู่ในระดับดี 75.34 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100.00 คะแนน

2.4 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแลเด็กมีคะแนนการพัฒนาการเฉลี่ย 1.39 คะแนน

Abstract

ABSTRACT

This participatory action research is aimed to study the guidelines for upgrading child care centers to meet the National Quality Standard and the upgrading results in the administration management, the learning process management and the children's quality outcomes. The population includes 36 administrators from the child care centers in the 8 northern provinces. The samples comprise of 24 caregivers from 12 child care centers and 360 students from their classrooms. The instruments used are focus group discussion, guidelines for upgrading the child care centers, self-study learning handbooks for administrators and caregivers, a national child care center evaluation format, a questionnaire to evaluate the opinions on the upgrading, the formats for observing and recording behaviors, and the pre-test and the post-test for the caregivers. The study is conducted in 3 phases: Phase I: Study the fundamental data and analyze the need and the necessity to upgrade the child care centers. Phase Il: Develop the upgrading guidelines which are evaluated by the 3 specialists to find out the content validity before improving and implementing. Phase III: Evaluate the guidelines for upgrading child care centers to meet the national quality standard. The qualitative data are analyzed to find the content validity and the quantitative data are analyzed to obtain the frequency, the percentage, the mean and the standard deviation.

The results are as follows:

1. The guidelines for upgrading child care centers developed cover the 3 areas namely: 1.1 the administration management which included the 4 components: the application of system theory to develop the participatory guidelines for upgrading child care center, the practical skills preparation for the administrators, the provision of instructional media and self-development for the administrators and caregivers, the combination of the coaching and mentoring approaches for internal supervisions, and the on-line communication system; 1.2 The learning process which comprises of 3 components: self-practical learning of the caregivers, school curriculum development, the environmental management to enhance learning of the caregivers, school curriculum development, the environmental management to enhance learning process and classroom management for the model classroom; 1.3 the chuld quality which comprises of 2 components: the experience planning of the caregivers, and student extra-curricular activities projects.

2. The upgrading yields the following results upon the 3 areas of the administration management, the learning process management and the child quality:

2.1 The evaluation of the child care centers according to the National Quality Standard results in the increase of scores in every areas. The average pre-test score is at the need to develop level (53.77) and the average post-test score is at the good level (77.86).

2.2 The average opinion scores on the 3 areas of the participants who are satisfied with the guidelines are at the very good level (\bar{x} = 4.36 and S.D. = 0.44).

2.3 From the observation and evaluation of the caregivers' learning process management behaviors, the score of the 3 areas of behaviors obtained is at the good level (75.34 out of the total of 100.00)

2.4 The caregivers' knowledge understanding tests yield the average development score of 1.39

คำสำคัญ

การยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติ

Keyword

upgrading child care center, National Quality Standard

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093