บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวนทั้งสิ้น 255 คน โดยใช้วิธีกำหนดขนาดตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตร Taro Yamane (1973, p. 125) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการขับเคลื่อนและการสร้างความเข้มแข็ง อยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับปฏิบัติที่พึงประสงค์ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดนโยบาย อยู่ในระดับมาก
2. ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า ด้านที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผลและปรับปรุง รองลงมา คือ ด้านการนิเทศและติดตาม ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการจัดการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีความสำคัญน้อยที่สุดคือ ด้านการขับเคลื่อนและการสร้างความเข้มแข็ง
3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 คือ 1) ด้านการกำหนดนโยบาย คือ ควรวางแผนการบริหารจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) อย่างเป็นระบบ 2) ด้านการขับเคลื่อนและการสร้างความเข้มแข็ง คือ ควรส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) 3) ด้านการจัดการเรียนรู้ คือ ควรให้ครูกำกับ ดูแลช่วยเหลือและกระตุ้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียน 4) ด้านการนิเทศและติดตาม คือ ควรประชุมปรึกษาหารือในการพัฒนาการนิเทศและติดตามอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 5) ด้านการประเมินผลและปรับปรุง คือ ควรมีระบบกำกับ ติดตามและการสะท้อนผลที่มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ
Abstract
ABSTRACT
The objectives of this research were to study the current conditions and the more desirable conditions to study the needs and to study suggestions for ways to manage TV distant learning (DLTV) via satellite in the small-sized schools under the Office of Khon Kaen Primary Education Service Area I. The sample group consisted of 255 school administrators and teachers in the small-sized schools under the Office of Khon Kaen Primary Education Service Area I who were selected by stratified random sampling in accordance with Taro Yamane Formula (1973). The tool used for data collection was a 5-level rating scale questionnaire with an IOC of 0.67-1.00 and a reliability of 0.82. The collected data were analyzed by using basic statistics of percentage, frequency, arithmetic mean and modified Priority Needs index (PNIModifieds).
The findings show that:
1. On the matter concerning the current conditions about the management of TV distant learning (DLTV) via satellite in the small-sized schools under the Office of Khon Kaen Primary Education Service Area I, it was found that 1) the administrators and teachers indicated that, as a whole, the management had been at a “high” level of practice. However, when each of the five aspects was scrutinized separately, it was found that the driving and strengthening of the TV distant learning via satellite management had been practiced most frequently which was also at a “high” level, 2) on the matter of more desirable conditions concerning the management of TV distant learning via satellite, it was found that, as a whole, was at a “high” level, and the aspect of policy determination shows the highest mean score which was also at the “high” level.
2. Results of an analysis of the data on the needs in the management of TV distant learning via satellite in the small-sized schools, under the Office of Khon Kaen Primary Education Service Area I, shows that the most pressing need had been an evaluation and improvement of the project. The next aspects, in order of significance, include the supervision and following up and policy determination and management of learning activities, respectively, while the aspect that shows the least significance was the driving and strengthening of the project.
3. Suggestions for the management of TV distant learning for small-sized schools under the Office of Khon Kaen Primary Education Service Area I include 1) on the aspect of policy determination for which a systematic planning for the management of TV distant learning via satellite should be established, 2) on the aspect of driving and strengthening learning for which schools should support and promote the management of TV distant learning via satellite, 3) on the aspect of learning management in which the teachers should supervise, assist and motivate the students to have interaction with learning activities, 4) on the aspect of supervision and following-up, it was suggested that there should be a meeting regularly to discuss the development of supervision and following-up, and 5) on the aspect of evaluation and improvement, it was suggested that there should be an effective system of supervision and follow-up and regular feedback.
คำสำคัญ
การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, โรงเรียนขนาดเล็กKeyword
The management of TV distant learning via satellite, small-sized schoolsกำลังออนไลน์: 106
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,805
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,004
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093