...
...
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2562
หน้า: 205-216
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 3119
Download: 269
Download PDF
รูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11
A Model and Guidelines for Developing Continuing Education Curriculum With in Basic Education, Vocational Education and Higher Education under the Regional Education Office No. 11
ผู้แต่ง
ระภีพรรณ ร้อยพิลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 2) หารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 และ 3) หาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา  ระดับอาชีวศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 3 จังหวัด คือ สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินความสอดคล้อง แบบสนทนากลุ่ม แบบประชาพิจารณ์ แบบประเมินยืนยันความเหมาะสม  และแบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ 6 ขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบรูปแบบ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 กำหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบ องค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูปแบบ ระยะที่ 3 การทดลองใช้และยืนยันรูปแบบ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 5 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 6 การยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ องค์ประกอบรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มีดังนี้คือ

1.1 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) การร่างหลักสูตร 2) การใช้หลักสูตร 3) การประเมินหลักสูตร

1.2 ด้านหลักสูตร ประกอบด้วย 1) เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่มีการเชื่อมโยงความรู้ในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานกับวิชาต่างๆ ในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา 2) เป็นการมุ่งเน้นการเตรียมประชากร ที่ทำงานในระบบ (Labor extensive) เป็นการเชื่อมโยงความรู้ขั้นพื้นฐานไปสู่ความรู้ขั้นสูง 3) เป็นหลักสูตรที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการสร้างความเข้าใจ การนำไปใช้ และการประยุกต์ 4) เป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน มีความยึดหยุ่น ไม่เป็นหลักสูตรที่แยก ออกจากการเรียนการสอนปกติ ไม่เป็นการใช้เวลาเพื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น อันจะเป็นภาระกับผู้เรียน และผู้สอน

1.3 ด้านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย 1) วัตุประสงค์ของหลักสูตรต่อเนื่อง (Objective) เป็นการพัฒนาผู้เรียนครอบคลุม 4 H โดยอาศัยเนื้อหาและกระบวนการของ STEM 2) เป็นรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่พึงประสงค์ (Model) 3) มีองค์ประกอบของหลักสูตร (Curriculum Component) 4) มีการจัดการเรียนการสอน (Instructional Model) 5) มีระยะเวลา (Time) จัดการเรียน การสอนตามหลักสูตร 6) มีผลลัพธ์ของการจัดหลักสูตรต่อเนื่อง (Output)  7) มีข้อมูลอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Evidence Base Practice : EBP) 8)มีเอกสารประกอบการคัดเลือกเอกสารข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการ คัดเลือกรูปแบบหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา9) มีข้อเสนอแนะอื่นๆ ควรมีการทำข้อตกลงระดับนโยบายการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา

1.4 ด้านโครงสร้างองค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย 2) ชื่อหลักสูตร ภาษาอังกฤษ 3) ระยะเวลา จำนวนชั่วโมง ของหลักสูตร ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ 4) ระดับการสอน 5) สมรรถนะของหลักสูตร 6) คำอธิบายของหลักสูตร 7) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 8) การศึกษาและการปฏิบัติ 9) รูปแบบ เทคนิคการจัดการศึกษา 10) สื่อ เครืองมือ วัสดุอุปกรณ์ 11) เอกสารอ้างอิง /เอกสารประกอบการศึกษา/แหล่งเรียนรู้ 12) แนวทางการประเมิน 13) พื้นความรู้ และคุณสมบัติของผู้เรียนหรือนักเรียนนักศึกษา 14) คุณสมบัติผู้สอน 15) คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

2. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย

2.1 การร่างหลักสูตร มีดังนี้ 1) กำหนดหลักสูตร 2) รูปแบบหลักสูตร 3) โครงสร้างและ องค์ประกอบหลักสูตร .4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหา 6) การวัดและประเมินผล 7) การตรวจสอบหลักสูตร 8) การปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้

2.2 การใช้หลักสูตร มีดังนี้ 1) การอนุมัติหลักสูตรการวางแผน 2) การใช้หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ สถานที่ วัสดุฯลฯ 3) การบริหารหลักสูตรการดำเนินการตามแผน (1) กิจกรรมการเรียนรู้ (2) ตารางสอน (3) แผนการสอน (4) แบบเรียน (5) การเตรียมความพร้อมของ ผู้เรียน (4) การประเมินผล

2.3 การประเมินหลักสูตร มีดังนี้ 1) วางแผนการประเมิน 2) การเก็บข้อมูล 3) การวิเคราะห์ ข้อมูล 4) การรายงานผลข้อมูล (1) เอกสารหลักสูตร (2) ระบบบริหาร (3) การจัดการเรียนการสอน (4) ผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน

3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3.2 การทดลองใช้หลักสูตร 3.3 การนิเทศติดตาม

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to: 1) examine the components of  a model for developing continuing education curriculum of the basic education within vocational and higher education in the service areas of the Regional Education Office No. 11; 2) construct a model for developing a continuing education curriculum of basic education within vocational and higher education in the service areas of the Regional Education Office No. 11; and 3) establish guidelines for developing a continuing education curriculum of basic education within the vocational and higher education in the service areas of the Regional Education Office No. 11. The Research and Development (R&D) was carried out and the process was divided into three phases of six

steps: Phase I- Model Component Investigation comprising Step 1: creating research conceptual framework, Step 2: constructing model components and guidelines for developing continuing education curriculum. Phase II-Model Construction and Validation, covering Step 3: constructing a model, and Step 4: validating a constructed model. Phase III- Model Implementation and Confirmation, covering Step 5: model implementation, and Step 6: model appropriateness confirmation in terms of model components and guidelines for developing continuing education curriculum of the basic education within the vocational and higher education. The samples were administrators from institutions at basic, vocational and higher education levels in the service areas of Regional Education Office No. 11, from three provinces: Sakon Nakhon, Nakhon Phanom, and Mukdahan. The research instruments for data collection included a congruence assessment, a focus group assessment form, a public hearing form, an assessment form of appropriateness confirmation, and a satisfaction assessment. The quantitative data analysis was done through mean, percentage, and standard deviation. The qualitative data was analysed through content analysis and presented in description.

The findings were as follows:

1. The model components for developing continuing education curriculum of basic education within the vocational and higher education levels in the service areas of the Regional Education Office No. 11, revealed that:

1.1 Model components comprised: 1) curriculum establishment; 2) curriculum implementation; and curriculum assessment.

1.2 Curriculum comprised: 1) curriculum development at a basic education level in terms of knowledge contents connecting with various courses at the vocational and higher education levels; 2) human preparation for labour-extensive services by enhancing knowledge from basic to higher level; 3) learner-centred curriculum focus. The contents were coupled with theories and practices focusing on creating understanding, application, and adaptation, and 4) curriculum utilization and flexibility within classroom practice

1.3 Curriculum development procedures comprised 1) objectives covering 4H for learners’ development based on STEM contents and process; 2) being  a model for developing desirable curriculum; 3) curriculum component; 4) instructional process; 5) time allocation for teaching and learning as designed curriculum; 6) Output of the continuing education curriculum management; 7) Evidence Base Practice: EBP; 8) Documents concerning selection of information or documents for creating a model for developing continuing education curriculum connected basic education level with vocational and higher education curriculums; and 9) other recommendations; namely, the needs for agreement on policy for developing mutual curriculum of basic, vocation and higher education levels.

1.4 The components of the curriculum structure consisted of; 1) a Thai title, 2) an English title; 3) time allocation for theories and practices; 4) an instructional level; 5) a curriculum competence; 6) a description; 7) objectives; 8) studying and practising; 9) education management techniques; 10) materials, equipment, and media; 11) references, study materials, and learning resources; 12) assessment guidelines; 13) knowledge background and qualification of learners; 14) teachers’ qualification; and 15) a committee of curriculum development.

2. The model for developing continuing education curriculum connecting the basic education with the vocational and higher education levels involved:

2.1 Curriculum drafting comprised: 1) a curriculum creation; 2) a curriculum model; 3) curriculum structure and components; 4) objectives; 5) contents; 6) evaluation and measurement; 7) curriculum examination; and 8) curriculum refinement.

2.2 Curriculum implementation involved 1) approval for curriculum planning; 2) curriculum implementation, personnel preparation, budget, building, and materials; 3) curriculum management as planned operation comprising (1) learning activities, (2) teaching schedules, (3) lesson plans, (4) textbooks, (5) learners’ preparation, and (6) evaluation.

2.3 Curriculum assessment involved: 1) planning, 2) data collection, 3) data analysis, 4) data reports, including (1) curriculum document, (2) administrative system, (3) teaching and learning management, and (4) learners’ achievement.

3. Guidelines for developing continuing education curriculum of the basic education within the vocational and higher education levels in the service areas of the Regional Education Office No. 11, involved: 3.1 a workshop, 3.2 curriculum implementation, and 3.3 follow-up supervision.

คำสำคัญ

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยง, แนวทางการพัฒนาหลักสูตรเชื่อมโยง

Keyword

Continuing Education Curriculum Model, Guidelines for Developing Continuing Education Curriculum

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093