บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2) เสนอแนวทางการบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงบประมาณหรือครูบุคลากรที่รับผิดชอบด้านงบประมาณและการเงินของสถานศึกษา จำนวน 166 คน และผู้ทรง คุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานงบประมาณ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาดังกล่าวในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาเรียงจากลำดับสูงที่สุด ดังนี้ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการบริหารการเงิน ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ด้านการบริหารบัญชี ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา และด้านการจัดสรรงบประมาณ
2. แนวทางการบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประการ คือ 1) หลักการบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ คือ การดำเนินการบริหารงานงบประมาณที่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ไม่ซ้ำซ้อน และงานบรรลุวัตถุประสงค์และมีคุณภาพสูง 2) กระบวนการบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย หลักการในการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงาน โดยเรียงลำดับการบริหารงานงบประมาณตามความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ทั้ง 7 ด้าน ดังกล่าว 3) เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านผู้บริหารสถานศึกษา ด้านผู้รับผิดชอบงานงบประมาณ และด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม
Abstract
ABSTRACT
The purpose of this research were to 1) study existing and desirable budgeting administration of schools under the Pathumthani Primary Educational Service Area Office 1. 2) propose approaches for efficiently budgeting administration of these schools. A samples of 166 was randomly selected from directors, deputy-directors, teachers who were responsible for budgeting and financial management. The informants who give information about approaches of efficiently budgeting administration were experts in budgeting administration. The research instruments were a questionnaire and an semi – structured interviewed. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, and modified priority needs index (PNI modified).
The results of the research were as follows.
1. The overall existing and desirable budgeting administration of these schools were at the moderate level and the very high level, respectively. All aspects of budgeting management were ranked from the top based on their priority need index as: budget preparation and submission aspect, material and asset management aspect, school financial management aspect, follow-up, appraisal and reporting the result of budget aspect, management accounting, resources mobilization and investing for educational and funds and budget allocation aspect, in that order.
2. The approaches for effective budgeting management of the schools consist of 3 main issues: 1) principles of efficiently budgeting management was worthily managed resource and reduced redundant work to achieved objectives at high quality 2) process of efficiently budgeting management were management principles and management processes by sorting 7 budgeting managements according to the priority needs index from descending 3) key to success were school administrators, teachers who responsible for budgeting and supervision and appraisal.
คำสำคัญ
การบริหารงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ, สถานศึกษาKeyword
efficiently budgeting administration, schoolกำลังออนไลน์: 108
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,104
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,303
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093