บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้หลักการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการศึกษา พบว่า โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการศึกษาสอดคล้องกับ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 แต่การดำเนินการนำนโยบายสู่การปฏิบัติมีปัญหาในเรื่อง งบประมาณไม่เพียงพอ ครูจำนวนมากเป็นครูที่มีอายุมาก ในขณะที่ผู้เรียนเป็นคนรุ่นใหม่ ครูมีภาระงานมาก มีการอบรมบ่อยครั้ง ระบบการวัดผลและประเมินผลขาดประสิทธิภาพ มีการประเมินการศึกษาที่ซ้ำซ้อน การเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ไม่ใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ ไม่เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนขาดความฉลาดในการเลือกใช้เทคโนโลยี โรงเรียนยอดนิยมมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเกินกำหนด ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำลง การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาผู้เรียน
2. ผลการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษา ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 2.1 การสร้างศักยภาพการอ่าน คิด เขียน สื่อสาร 2.2 การจัดการเรียนรู้ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.3 การพัฒนาครู และผู้บริหารสู่มืออาชีพ 2.4 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2.5 การประสานความร่วมมือภาคีเครือข่าย 2.6 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ 2.7 การมุ่งสู่วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และ 2.8 การนิเทศ กำกับ ติดตามให้เกิดความยั่งยืน
3. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาเพื่อตรวจสอบยืนยันในสถานการณ์จริง โดยผู้ปฏิบัติ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3 ด้าน พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากและมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
ABSTRACT
objective of this research is to figure out educational administration strategies to enhance learning achievements (O-NET) in school attached to the Secondary Educational Service Area Office 20. Research is based on research and development. There are 3 steps as follows: Step 1: Current situation and problems research. Step 2: Strategic educational administration formulation. And the third step is to Evaluate the educational administration formulation
Findings from the study were as follows:
1. The current situations and problems concerning educational administration in terms of policy, the school has a policy to manage education in accordance with the Ministry of Education, Office of the Basic Education Commission and Secondary Educational Service Area Office 20. But to implement the policy faces such problems as insufficient budget, many teachers are old while students are in the “new generation.” Teacher has a lot of workload, Have frequent training An inefficient measurement and evaluation system, have redundant educational evaluation, teaching methods not correspondent with learning standards and key indicators, fail to use teaching medias, and Do not write a lesson plans, Students lack the intelligence to opt for technology, schools are well prepared and the number of students keeps rising more than the number required, thus affecting lowering learning achievement, the budget has been spent not beneficial to students development.
2. Educational administration strategies feature 8 strategies, namely, 2.1 promote reading, thinking, writing and communicating capabilities, 2.2 provide education in line with the sufficiency philosophy, 2.3 develop teachers and educational administrators to a professional level, 2.4 develop educational institutions according to the quality assurance system, 2.5 promote collaboration with networking alliances, 2.6 apply ICT in teaching, 2.7 commit to operational excellence, and 2.8 Supervise, direct and follow up to ensure sustainability.
3. Results of the evaluation of the educational administration strategies on three evaluation standards. The evaluation shows that appropriate and feasibility are at a high level and highest benefits.
คำสำคัญ
ยุทธศาสตร์, การบริหารจัดการศึกษาKeyword
Strategic, Educational Administrationกำลังออนไลน์: 131
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,834
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,033
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093