...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2562
หน้า: 1-10
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 585
Download: 200
Download PDF
การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนดงมะไฟวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Desirable Values Development of the Students at Dongmafaiwittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 23
ผู้แต่ง
สุวิทย์ เขตชมภู, วัฒนา สุวรรณไตรย์, วีระวัฒน์ ดวงใจ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
2) หาแนวทางพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนและ 3) ติดตามผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 21 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 44 คน เป้าหมายการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือ นักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา จำนวน 599 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา

1.1 สภาพเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า สภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนมีฐานะยากจน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้นักเรียนอยู่กับผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อ แม่ ทำให้ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน กำกับติดตามดูแลนักเรียน ทำให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวมีปัญหาเกี่ยวกับด้านความประพฤติไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางโรงเรียน และไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาของสังคม

1.2 ปัญหาเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา

1.2.1 ด้านครูผู้สอน พบว่า ครูปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ แต่ขาดทักษะการทำงานที่เป็นระบบและต่อเนื่อง

1.2.2 ด้านนักเรียน นักเรียนส่วนหนึ่งยังไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของทางโรงเรียน ขาดความรับผิดชอบ ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของสังคม และนักเรียนส่วนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือกับการจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์

2. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา ประกอบด้วย
2.1 การพัฒนาบุคลากร ดำเนินการโดย การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศติดตามผล

2.2 กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมโลกสวยด้วยมือเรา (กิจกรรม 5 ส.) กิจกรรมยิ้มไหว้ทักทาย กิจกรรมภาษาพาเพลิน กิจกรรมคนดีศรีดงมะไฟ กิจกรรมไหว้พระสวดมนต์ กิจกรรมแต่งกายดีมีวินัย กิจกรรมนั่งสมาธิ กิจกรรมขยะนี้มีประโยชน์ กิจกรรมตาวิเศษ และกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์ความดี

3. ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา พบว่า

3.1 ผลที่เกิดขึ้นกับครู ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น ครูมีความพึงพอใจต่อการศึกษาดูงาน และอบรมเชิงปฏิบัติการ อยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยา มีพฤติกรรมดีขึ้น ผู้ปกครองมีความพึงพอใจพฤติกรรมของนักเรียน อยู่ในระดับมาก และจากการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้ร่วมวิจัย และผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรม ของนักเรียนโรงเรียนดงมะไฟวิทยาทั้งสองวงรอบ พบว่า ผู้ร่วมวิจัย และผลที่เกิดกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีความพึงพอใจพฤติกรรมของนักเรียน เพิ่มขึ้น 0.10 อยู่ในระดับมาก

Abstract

ABSTRACT

This research aimed 1) to examine conditions and problems concerning students’ desirable characteristics at Dongmaftaiwitaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 2; 2) to establish the guidelines for developing students’ desirable characteristics; and 3) to follow up the development of students’ desirable characteristics. The research employed two spirals of a four-stage participatory action researchcomprising planning, action, observation and reflection. The target research group comprised 21co-researchers and 44 informants. The target development group consisted of599 students at Dongmafaiwittaya School. The research instruments were observation forms, assessment forms, interview forms, and satisfaction forms. The quantitative data were analyzed through mean, percentage and standard deviation. Content analysis was used to analyze the qualitative data, in forms of content classification and descriptive presentation.

The findings revealed that

1. The conditions and problems concerning students’ desirable characteristics at Dongmafaiwitaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 23, were as follows:

1.1 In terms of conditions of students’ desirable characteristics, students were from poor socio-economic background. In addition, most parents working in different cities found themselves missing regular emotional or physical support for their children. Consequently, some students engaged in problematic behaviors, which might deviate from the school regulations and social norms.

1.2 The following problems on students’ desirable characteristics revealed that:

1.2.1 In terms of teachers, they performed their duties and responsibilitiesfor developing students’ desirable characteristics but remain in unsystematic and discontinuous.

1.2.2 In terms of students, some students failed to follow the school rules and regulations, social norms, and lacked responsible. In addition, some students did not participate in school voluntary activities.

2. The guidelines for developing students’ desirable characteristics at Dongmafaiwittaya School involved:

2.1 Personnel development included field trip, workshop and supervision.

2.2 Activities for improving desirable characteristics of students at Dongmafaiwitaya School included Morning Assembly, Joining Hands to Create Beautiful World (5SImprovement), Giving a Wai and Smiling Greeting, Using Pleasant Language, Exhibiting Exemplary Values at DongMafaiWittaya, Adhering to Buddhism Concept, Dress Code and Discipline, Meditation, Recycling Garbage into Useful Products, Magic Eyes, and Helping Each Other to Nurture Worthy Societal Values.

3. The effects after the intervention revealed that:

3.1 Teachers gained better knowledge and understanding for developing students’ desirable characteristics. The teacher satisfaction toward a field trip and workshop was at the highest level.

3.2 The students displayed more acceptable behaviors listed on the desirable characteristics. Parents also reported a high level of satisfaction with the improvement of students’ behaviors. After the completion of a two-spiral implementation, the co-researchers and parents reported a high satisfaction level toward the improvement of students’ behaviors, with an increase of 0.10 percent.

คำสำคัญ

การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน

Keyword

Desirable Characteristics of Students

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093