บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหาร และครูวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาหนองคาย เขต 21จำนวน 230 คน ใช้เทคนิคการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .36 - .89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ศึกษาจากการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากสถานศึกษา จำนวน 3 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน ได้แก่ ดร.ประยูร ยวนยี นางสาวลักษณาศิริ คำภูแก้ว นายสุริยา มะโยธี ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความจำเป็น (PNIModified) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ 2) การดำเนินงานการนิเทศ 3) การประเมินผลการนิเทศ พบว่ามีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก ทั้ง 3 ด้าน
2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ของการนิเทศ ภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง การศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 พบว่า มีระดับความต้องการและสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 พบว่า แนวทางการพัฒนาการนิเทศโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ 2) การดำเนินงานการนิเทศ 3) การประเมินผลการนิเทศ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับระดับมากที่สุด
Abstract
ABSTRACT
The purposes of research were first, study of the constituents and indicators of the ways to develop of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21. The propriety of constituent has been assessed by the savants with their questionnaire’s assessments. Second, the sampling of overall are consisted of the directors, the technical teachers and the chief of 8 sections at the School Supervision Secondary of Educational Service Area Office Region 21 are 230 people that obtain from Stratified Random Sampling by questionnaires with 5 degree of scale. The questionnaires of the actual and desirability of the ways to develop of the School Supervision Secondary of Educational Service Area Office Region 21 by the Professional Learning Community (PLC). The discrimination index was from .37 - .89 and the confidence was 0.87 The researcher has been used percentage mean and standard deviation for statistics of this research for the actual and desirability of the ways to develop of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21.Third, to study of the Ways to develop of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21.The best practice of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21. to study of the ways to develop of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC). The best Practice of 3 schools with 3 persons was Dr.Prayoon Yuanyee, Mr.Suriya MayoThee and Mis.Luksanasiri Kamphookeaw. The propriety and the possibility of constituents have been assessed by the 5 savants with their questionnaire’s assessments. The instrumentation of the thesis is the questionnaire obtained from the propriety and the possibility of constituent has been assessed by the 5 savants with their questionnaire’s assessments The statistics used to analyses the data as an index of item – objective congruence (IOC), percentage value, average, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient values, the a-Coefficient by Cronbach, PNI Modified and analysis’s content.
The results were concluded as follows 3 periods, the constituent of the ways to develop of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21, which consists of the actual, the problem and the requirement, the achievement of the school supervision. The results revealed that the prosperity has been good. Second, the actual and desirability of the ways to develop of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21. The results revealed that the requirement has been excellent. Third, the Ways to develop and best practice of the School Supervision by the Professional Learning Community (PLC), Secondary of Educational Service Area Office Region 21. The results revealed that the propriety and the possibility of constituents have been excellent.
คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, การนิเทศภายใน, การเรียนรู้ทางวิชาชีพKeyword
Developmental guidelines, internal supervision, professional learningกำลังออนไลน์: 114
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,133
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,332
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093