บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาความร่วมมือในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ 2) พัฒนารูปแบบความร่วมมือที่เกิดประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนและ 3) หาประสิทธิภาพของรูปแบบความร่วมมือที่เกิดประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 400 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .535-.799 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .925 และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาความร่วมมือในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) การพัฒนารูปแบบความร่วมมือที่เกิดประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ พบว่ามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และการประเมินผล 3) ประสิทธิภาพของรูปแบบความร่วมมือที่เกิดประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านความถูกต้อง รองลงมาคือ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเหมาะสม ตามลำดับ
Abstract
ABSTRACT
This research aims to: 1) study the problems of cooperation in school administration under Chaiyaphum Primary Educational Service Area. 2) develop an effective cooperation model for school administration 3) find the effectiveness of cooperation model in school administration. The research is divided into 3 steps according to the research objectives. The samples consisted of 400 school board members and 9 experts in group discussion. The research instrument used is a questionnaire with a consistency index between 0.60-1.00. The power of discrimination is between 0.535-0.799. The reliability is 0.925 and the evaluation form. Data analysis by using the program to calculate the frequency, percentage, mean and standard deviation.
The results were as follows:
1. Effective cooperation problems in school administration as whole is at the highest level. 2) The development of effective cooperation model in school administration was found that there were 4 elements: principles and reasons, objectives, procedures, and evaluation. 3) The efficiency of model in school administration as whole is at the highest level and in all aspects as well. The highest mean is accuracy, followed by feasibility, utility, and appropriateness respectively.
คำสำคัญ
ความร่วมมือที่เกิดประสิทธิผล, การบริหารโรงเรียน, ประสิทธิภาพของรูปแบบKeyword
Effective Cooperation, School Administration, Model Efficiencyกำลังออนไลน์: 38
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,729
จำนวนครั้งการเข้าชม: 57,928
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093