...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2562
หน้า: 157-165
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 552
Download: 163
Download PDF
รูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
A Model of Instructional Leadership Styles of School Administrators under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ฉัตรพิศุทธิ์ วิจาราณ์, นพรัตน์ ชัยเรือง, จำเริญ ชูช่วยสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน และ 3) ตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ครูในสถานศึกษาจำนวน 282 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stages sampling) และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 แห่ง โดยเลือกด้วยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี Priority Need Index แบบปรับปรุง (PNI Modified) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงานด้านวิชาการของโรงเรียน ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านการพัฒนาครู และด้านการนิเทศและการประเมินผลการสอน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนความต้องการในการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการนิเทศ และการประเมินผลการสอนด้านการวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงานด้านวิชาการของโรงเรียน และด้านการพัฒนาครู มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

2. รูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนมี 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการ ประกอบด้วย 1) แนวคิดของการเป็นผู้นำ 2) หลักการพื้นฐานของการเป็นผู้นำ 3) วัตถุประสงค์การพัฒนาผู้นำทางการเรียนการสอน และ 4) เป้าหมายของการเป็นผู้นำทางการเรียนการสอน ส่วนที่ 2 โครงสร้างของรูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงานด้านวิชาการของโรงเรียน มี 3 องค์ประกอบ 2) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มี 2 องค์ประกอบ 3) ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพและการพัฒนาครู มี 3 องค์ประกอบ 4) ด้านการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ของนักเรียน มี 3 องค์ประกอบ 5) ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มี 3 องค์ประกอบ และ 6) ด้านการนิเทศและการประเมินผลการสอน มี 2 องค์ประกอบ ส่วนที่ 3 กระบวนการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 1) การจัดทำระบบและกลไกการบริหารของรูปแบบ 2) การกำหนดแนวทางการดำเนินงานของรูปแบบ 3) เงื่อนไขและข้อจำกัดของรูปแบบ และ 4) การกำหนดแนวทางการนำรูปแบบไปใช้

3. การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า มีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด มีความถูกต้องอยู่ในระดับมาก และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Abstract

ABSTRACT

The objectives of this research were: (1) to study the present situation and the need for schooling leadership; (2) to develop a schooling leadership style; and (3) to examine the schooling leadership style of the school administrators under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 1.  The sample group for quantitative data were 282 teachers in schools drawn from Multi-stage Sampling Method and the sample group for qualitative data were administrators of 4 schools selected by Purposive Sampling Method.  The research instruments used in this research were questionnaires, interview, and survey. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, priority need data from Priority Need Index (PNI Modified) and Exploratory Factor Analysis (EFA)

The results of the study were as follows:

1. The study of the present situation in developing the schooling leadership style of the school administrators showed that the overall composition was at a medium level by ordering from the most to the least: the composition of creating the environment and culture that is suitable for learning showed the highest mean, followed by the planning and determining operation method of academic work in school, the management of curriculum and learning-teaching process, and the development of student learning potential, respectively, and the least mean was on the teacher development and the supervision and evaluation in teaching.  However, the overall composition of the need for developing the administrators’ leadership style in teaching was at the highest level. By ordering from the most to the least: the development of students’ learning potential showed the highest mean, followed by the management of curriculum and teaching and learning process, the creating of the environment and culture that is suitable for learning, the supervision and evaluation in teaching, the planning and determining academic work in school, respectively, and the least mean was on teacher developing. 

2. There were 3 parts of schooling leadership styles as follow: Part 1 The concept and principle which consists of (1) the leadership concept; (2) the basic principle of leadership; (3) the objective of developing schooling leadership; and (4) the aim of schooling leadership.  Part 2 The structure of schooling leadership style which consists of: (1) the planning and determining operation method of academic work in school which includes 3 compositions; (2) the management of curriculum and learning and teaching process which include 2 compositions; (3) the supportive of professional advancement and teacher developing which include 3 compositions; (4) the development of student learning potential which includes 3 compositions; (5) the creating of the environment and culture that is suitable for learning which includes 3 compositions; and (6) the supervision and evaluation in teaching which include 2 compositions. Part 3 The process of applying schooling leadership style which consists of (1) system establishment and administrative machinery; (2) determining for processes to apply schooling leadership style; (3) conditions and limitation in applying the schooling leadership style; and (4) setting up a method to apply the schooling leadership style.

3. After examining the school administrators’ instructional leadership style, it was found that the possibility was at the highest level, the precision, as well as the appropriateness were at the high level.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน, ผู้บริหาร, เขตพื้นที่การศึกษา

Keyword

Instructional leadership styles, administrators, educational service area

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093