...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2562
หน้า: 138-148
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 709
Download: 214
Download PDF
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานกลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่องการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
The Development of Blended online Leaning Area of Occupation and Technology Leaning Strand on presentation with PowerPoint Program for Prahomsuksa 6 Students
ผู้แต่ง
ทัศนีย์ พิมพ์ดี, นคร ละลอกน้ำ, ฐิติชัย รักบำรุง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยใช้โครงงาน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลจากการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยใช้โครงงาน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน

วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้รูปแบบ ADDIE Model 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) 2) ขั้นตอนการออกแบบ (Design) 3) ขั้นตอนการพัฒนา (Development) 4) ขั้นตอนการทดลอง  (Implementation) 5) ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluation)

กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดตำหรุ มิตรภาพที่ 65 จำนวน 30 คน 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน 4) แบบฝึกหัด 5) ใบงานโครงงานการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/ E2) และ ดัชนีประสิทธิผล

ผลการวิจัย พบว่า

บทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยใช้โครงงาน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์  สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80.67/81.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล บทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยใช้โครงงาน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้เท่ากับ 0.60 มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์แบบผสมผสานโดยใช้โครงงาน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรมเพาเวอร์พอยท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  อยู่ในระดับ “ความพึงพอใจมากที่สุด”

Abstract

ABSTRACT

The purpose of this research is to: 1) Development of Blended Leaning online lessons by project-base of Learning Area of Occopation and Technology on Creative presentation with Powerpoint Program for Prahomsuksa 6 Students : Efficacy E1 / E2 is 80/80. 2) To study the effectiveness index of Blended Leaning online of Learning Area of Occopation and Technology on Creative presentation with Powerpoint Program for Prahomsuksa 6.      3) To study the satisfaction of the integrated online lessons.

Research Methodology followed the steps in ADDIE model, they werw; 1) Analysis 2) Design 3) Development 4) Implementation, and 5) Evaluation. The samples used in the study were Prathom Suksa 6 students, selected, by a purposive sampling.  The research instruments were. 1) Blended online tutorials, 2) Pre-test and Post-test, 3) Satisfaction survey data analysis consists of percentage, mean, standard deviation. Performance testing (E1 / E2) and t-test 4) Exercise 5) Project sheet.

The research results were; 1) Blended Leaning online Occopation and Technology Leaning Strand on Presentation with Powerpoint Program for Prahomsuksa 6 Students. The E1 / E2 performance test was 80.67 / 81.78, which was in accordance with the criteria.  2) The effectiveness Index of the Blended Leaning online lessons by project-base for of Occopation and Technology on Creative presentation with Powerpoint Program for Prahomsuksa 6 Students was at 0.60 3) Satisfaction towards Blended Leaning of was at highest satistied.

คำสำคัญ

บทเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน, โครงงานกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี

Keyword

Blended online Leaning, Occupation and Technology Leaning

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093