บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา 3) พัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยเก็บรวบข้อมูล มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมิน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 346 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนระยะที่ 3 ร่างการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้แนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา มี 5 ด้าน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการ 2) การวางแผนและกำหนดทางเลือก 3) การสร้างสื่อ เครื่องมือและพัฒนาวิธีการ 4) การปฏิบัติการนิเทศภายในด้วยเทคนิคที่เหมาะสม 5) การประเมินผลและการรายงานผล
2. สภาพปัจจุบันของแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพพึงประสงค์ของแนวทางการจัดการความรู้สำหรับสถานศึกษาโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ตามทัศนคติของครูและผู้บริหารอยู่ในระดับดีมาก
Abstract
ABSTRACT
This research is aimed. 1. Composition and indicator of internal supervision and coaching for school. Primary Educational Service Area Office 2 2. Study of Roineighborhood. Adverse conditions. Research and management for. Phase 2 study current conditions and adverse conditions of the development of guidelines for Supervision and coaching for school. Poulation and a sample of 346 people including school administrators. Head of Academic Administration and teachers. Phase three draft guidelines for Supervision and coaching for school. The tools used to collect information about the five-level scale questionnaires, statistics used in data analysis were percentage, average, standard deviation.
The research found that
1. Elements and Indicators approach to supervision and coaching for schools with five areas: 1) A study of current issues. And 2) Planning and choice assignments 3) Creating tools and methods developed by Technical Supervision 4) Acts 5) The evaluation and reporting.
2. The present condition of the internal supervision and coaching for school. Primary Educational Service Area Office 2 by Roi area and specifically the high level. The adverse conditions of knowledge management approach for education overall. And in most aspects.
3. The development of guidelines for internal supervision and coaching for school. Primary Educational Service Area Office 2 Roi neighborhood.
คำสำคัญ
การนิเทศภายใน, การสอนแนะKeyword
Guideline, Coaching supervisionกำลังออนไลน์: 89
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,049
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,248
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093