...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2562
หน้า: 87-96
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 556
Download: 193
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้องอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
Development of Teachers’ Potential on Producing And Utilizing Instructional Media for Early Childhood at Child Development Centers Under Ban Tong Sub-District Administrative Organization, Seka District, Bueng Kan Province
ผู้แต่ง
ทัสสะ สุรเดชาวงศ์, วัฒนา สุวรรณไตรย์, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการ การผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครู ในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้แนวทางในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน และ 3) การนิเทศภายใน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบนิเทศภายใน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพ ปัญหา และความต้องการ ในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เป็นดังนี้

 1.1 สภาพการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูมีการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กค่อนข้างน้อย เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลือกใช้วัสดุผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยขาดความรู้ความเข้าใจในการนำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดความรู้ความเข้าใจหลักการพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยและที่สำคัญคือ ขาดความสนใจในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ผลรวมของสภาพการผลิตและการใช้สื่ออยู่ในระดับ “น้อย”

1.2 ปัญหาในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจหลักการพัฒนา และออกแบบสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย การจำแนกสื่อการเรียนรู้ การนำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีความสนใจ และประสบการณ์ในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยน้อย ผลรวมของปัญหาในการผลิตและการใช้สื่ออยู่ในระดับ “มาก”

1.3 ความต้องการในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูต้องการที่จะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ในด้านความสามารถในการเลือกใช้วัสดุผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ผลรวมอยู่ในระดับ “มาก” ต้องการศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบและได้รับรางวัลด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง และเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน และ 3) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถผลิตสื่อและใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้ ครูได้รับประสบการณ์ในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถนำมาปรับใช้กับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ดี และการติดตามประเมินผล พบว่า ครูเกิดความชำนาญในการผลิตและการใช้สื่อการเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were: 1) to examine conditions, problems and needs of teachers on producing and utilizing instructional media for early childhood at Child Development Centers under Ban Tong Sub-district Administrative Organization, Seka District, Bueng Kan Province; 2) to establish the guidelines for developing teachers’ potential on producing and utilizing instructional media for early childhood; and 3) to explore the effects after the intervention. The proposed development guidelines comprised: 1) a workshop; 2) a study visit; and 3) an internal supervision. The target group consisted of 17 teachers working at Child Development Centers under Ban Tong Sub-district Administrative Organization, Seka District, Bueng Kan Province. The research instruments included a set of questionnaires, an interview form, an observation form, and an internal supervision form. Statistics for data collection were mean, percentage, and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The conditions, problems and needs on instructional media production and utilization for early childhood at Child Development Centers under Ban Tong Sub-district Administrative Organization, Seka District, Bueng Kan Province revealed that:

1.1 In terms of conditions, teachers produced and utilized instructional media at a low level, resulting from a lack of knowledge and understanding in selecting materials for media production, principles for developing instructional media, and interest in producing instructional media. From this result, it was concluded that the conditions of instructional media production and utilization were at a low level.

1.2 In terms of problems, teachers lacked knowledge and understanding about development and design principles, classification, and utilization. Teachers’ interest and experiences in producing instructional media for early childhood were also found at a low level. From this result, it was concluded that the problems of instructional media production and utilization were at a high level.

1.3 In terms of needs, teachers rated a high level of self-professional development in diverse aspects, namely, the need for the ability to select materials for producing instructional media, and knowledge, understanding and skills in producing and utilizing instructional media, a best practice visit, and rewards obtained from instructional media production and utilization. It suggested that professional development would influence teachers’ implementation and management for early childhood experiences and lead to the improvement of self-development and individual organization.

2. The teacher potential development guidelines on instructional media production and utilization for early childhood at Child Development Centers involved two spirals. The first spiral included a workshop, a study visit, and an internal supervision. In the second spiral, coaching supervision was employed.

3. The effects after the intervention showed that teachers had better knowledge and understanding about instructional media production and utilization, and were able to improvise and utilize the instructional media for early childhood. Teachers also gained experiences in producing and utilizing instructional media and demonstrated well in managing early childhood experiences. In terms of follow-up evaluation, teachers improved their expertise in producing and utilizing instructional media.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Keyword

Teacher Potential Development, Instructional Media for Early Childhood, Child Development Centers

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093