บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มสาระฯ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน 3) หาแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ และหัวหน้ากลุ่มสาระฯ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 220 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 61 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ จำนวน 45 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระ จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามรายข้ออยู่ระหว่าง 0.243 – 0.751 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับน้อย
2. สภาพการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. แนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 เสนอแนะไว้ 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ด้านการควบคุมดูแล บำรุงรักษา และจำหน่ายพัสดุ ด้านการเบิกเงินจากคลัง ด้านการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงิน ด้านการนำเงินส่งคลัง ด้านการจัดทำบัญชีการเงิน ด้านการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน และด้านการจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1) to examine conditions and problems of Budgeting Management in Schools Under the Office of Secondary Education Area 23; 2) to compare the Budgeting Management in Schools Under the Office of Secondary Education Area 23 as perceived by school administrators, head of budget management group and head of learning group with different position, work experience and school sizes; and 3) to establish the guidelines for developing the Budgeting Management in Schools Under the Office of Secondary Education Area 23. The samples consisted of a total of 220 participants including 61 school administrators, 45 head of budget management group and 114 head of learning group in the 2018 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning conditions and problems of Budgeting Management in Schools with item discrimination between 0.243 and 0.751 and with a reliability of 0.960. An interview form was administrated to establish the guidelines for developing the Budgeting Management in Schools. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and F – test (One – Way ANOVA)
The findings were as follows:
1. The conditions of Budgeting Management in Schools, as a whole and each aspect were at a high level, whereas the problems were at a low level.
2. The conditions and problems of Budgeting Management in Schools with different positions, as a whole and each aspect were not different; with different work experience and different school sizes, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
3. The proposed guidelines for each aspect involved eight aspects: Educational resource management, Control, supervision, maintenance and distribution of supplies, Cash withdrawal, Receiving money, keeping money And payment, Finance, Financial accounting, Financial report preparation and financial statements and Preparation and procurement of printed accounts, registration forms and reports
คำสำคัญ
แนวทางพัฒนา, การบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนKeyword
Guidelines for Developing, Budget Managementกำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 494
เมื่อวานนี้: 1,728
จำนวนครั้งการเข้าชม: 63,499
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093