บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบและแบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ครูส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น รู้จักสื่อที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ รู้จักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และครูต้องการให้มีการส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเองในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจและโปรแกรมที่ใช้ในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การมอบหมายงานและการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนราษฎร์สามัคคี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า 1) ผู้ร่วมวิจัยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 45.67 2) มีความพึงพอใจในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.13 3) ผลการประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) to examine conditions and problems of the Development of the Teachers’ Potential in the Production of Electronic Books at Radsamakkee School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, 2) to identify the guidelines for Development of the Teachers’ Potential in the Production of Electronic Books at Radsamakkee School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2, and 3) to follow up the effects after the intervention for Development of the Teachers’ Potential in the Production of Electronic Books at Radsamakkee School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2. The research methodology employed was the action research, which comprised of two cycles. The participants were 16 co-researchers, and 140 informants. The research instruments comprised questionnaire forms, interview forms, test forms and quality assessment of Electronic Books. The quantitative data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation and Percentage of Progress. Content analysis was used to analyze the qualitative data, in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of the in the Production of Electronic Books revealed that, The teachers had knowledge and understanding of using basic computer. The teacher know the media used for computers and recognize the electronic book, but there lacked the knowledge about the production of electronic books. And the teachers want to have encourage self-development about The production of electronic books.
2. The proposed guidelines for Development of the Teachers’ Potential in the Production of Electronic Books at Radsamakkee School under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area 2 via 3 guidelines: a training workshop, job assignment, and an internal supervision.
3. The results after the intervention revealed that: 1) Teachers gained knowledge and understanding on Production of Electronic Books Approach, as a whole, at a high level. 2) The teachers reported their satisfaction towards a training workshop, as a whole, at a high level. 3) The result from the assessment quality of Electronic Books, as a whole, at a highest level and 4) The students reported their satisfaction towards learning Electronic Books, as a whole, at a high level.
คำสำคัญ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การพัฒนาศักยภาพครูKeyword
Electronic Books, Action Research, Development of the Teachers’ Potentialกำลังออนไลน์: 110
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 2,809
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,008
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093