...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2557
หน้า: 183-191
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 293
Download: 177
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลโกญจนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 3
Developing the Teachers’ Improve the Learning Experience. Standards in Early Childhood Education. At Konjanat Preschool Under the Office of the Primary Educational Service Area 3
ผู้แต่ง
หนูณะ ปุนนะรา, ธวัชชัย ไพใหล, ภิญญโญ ทองเหลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของครู 2) กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย 3) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลโกญจนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบวงจร PAOR ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นการปฏิบัติการ 3) ขั้นการสังเกตการณ์ และ 4) ขั้นการสะท้อนกลับ ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วยกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 11 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 24 คน

เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนและหลังประชุมเชิงปฏิบัติการ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความสอดคล้อง (IOC)                       

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลโกญจนาท  สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีดังนี้             

1.1 สภาพเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย พบว่า ครู  จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากที่เคยศึกษาหรือได้รับการอบรมมาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ตรงกับแผนการการจัดการเรียนรู้ ไม่มีการบันทึกผลหลังการจัดประสบการณ์ การนิเทศติดตามและประเมินพัฒนาการเด็กที่เป็นปัจจุบัน

1.2 ด้านปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยพบว่าครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย การเลือกใช้สื่อนวัตกรรม การสร้างเครื่องมือวัดผล ประเมินผล และการประเมินพัฒนาการเด็ก

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลโกญจนาทสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 4) การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this participatory action research (PAR) were to 1) study and the problems related to the learning experience. Standards of early childhood education teachers, 2) developing a set of guidelines for teachers in the learning  experience. Standards in early childhood education, 3) to monitor and evaluate the development potential of the teacher to the learning experience. Standards in early childhood education. At Konjanat Preschool Under The Office Of The Primary Educational Service Area 3Using action research. Principles in action research cycle consisting of four phases PAOR 1) the planning stage. 2) the operating stage. 3) the observations. And 4) reflection. Participants in the research consists of participants of 11 people to get 24

The tool used for this study consisted of a questionnaire, interview, observation tests before and after the workshop. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and the consistency of the research tool.

The findings were as follows:

1. Conditions and problems related to the learning experience. Standards of early childhood education teachers. At Konjanat Preschool Under The Office Of The Primary Educational Service Area 3 Are as follows.    

1.1 Conditions on the learning experience. By Early Childhood Education found that teachers are learning the knowledge and understanding of experience, education or training to get past. The learning experience to vary depending on the situation. Not meet the plans the management of learning. Lack of results after the experience. Supervision, monitoring and evaluation of development children are present.

1.2 The problem of the learning experience. Standards for early childhood education teachers found that lack of knowledge. Understanding about early childhood learning experiences. Plan a learning experience. The use of innovative media Create tools to measure and evaluate. Lack of awareness of the results after the experience. Child Development and evaluation continues.

2. Potential Development for Teachers organized learning experience. Standards in early childhood education. At Konjanat Preschool Under The Office Of The Primary Educational Service Area 3 Include 1) the study sample 2) workshops 3) learning experience and4) supervision and guidance (Coaching).

3. Results of the monitoring and evaluation of capacity development for teachers and learning experience. Standards in early childhood education. At Konjanat Preschool Under The Office Of The Primary Educational Service Area 3 found that.

3.1 Knowledge and understanding about the learning experience that before development colleagues. The level of knowledge Understanding average 12.50 points, representing 64.5 percent of the development consortium. The level of knowledge and understanding of the average score was 16 percent and 80.00 percent progress was 3.1.

3.2 The written plan learning experiences found that the consortium has the ability to write lesson plans , overall, is good .(\bar{X} = 3.64) in the second round to take a supervisory guidance (Coaching) found that participants given the ability to write lesson plans , the images at a high level (\bar{X}= 4.46) .In the second round, with an average increase of orbital 1 (\bar{X}= 0.80) is equal to 16.40 percent progress .

3.3 Aspect of the learning experience that. The consortium has developed a learning management plan learning experiences. The creation of sourcing tools to measure and evaluate the use of innovative media prepared using the learning experiences planned appropriately.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้, มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

Keyword

developing the teachers’ improve the learning experience. Standards in early childhood education

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093