บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) พัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านเหล่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นการสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 14 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการนิเทศ และแบบประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงข้อค้นพบที่สำคัญและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำเสนอกาวิจัยในรูปแบบตารางและพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาและความต้องการด้านการทำวิจัยของครูโรงเรียนบ้านเหล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ครูส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวกับการนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ไม่เข้าใจในขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม และการเลือกนวัตกรรมที่สอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขปัญหา ขาดความมั่นใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน และขาดแหล่งข้อมูลสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน ขาดการนิเทศ ติดตามให้คำแนะนำ ด้านความต้องการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูต้องการพัฒนาเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน นอกจากนี้ยังต้องการได้รับการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแลและยกย่องเชิดชูเกียรติ รวมทั้งการนำผลงานด้านการวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาในการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม
2. แนวทางการพัฒนาการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านเหล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยได้กำหนดแนวทางในการพัฒนา 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนและ 3) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านเหล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร หลังการพัฒนา พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการวิจัยในชั้นเรียน ตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) สำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา 2) การกำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา 3) การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม 4) การนำวิธีการและนวัตกรรมไปใช้และ 5) การสรุปผลและการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้องตามกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน และจากรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this action research were to 1) investigate the current conditions, problems and needs for classroom research, 2) develop guidelines for the teachers’ potential in conducting classroom researches, and 3) develop of the teachers’ potential in conducting classroom researches at Ban Lao School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The action research comprised four steps comprising: planning, action, observation and reflection. The target group was classified into two groups, consisting: 1) 14 teachers, comprising the researcher and co- researches, 2) three informants. The research instruments employed to collect data were a form of a set of questionnaires, a test, a form of structured interview, an observation form of supervision, and a form of classroom researches assessment. The Statistics used in analyzing quantitative data were mean, percentage and standard deviation. Quantitative data were analyzed in forms of tables and descriptive analysis.
The findings of this study were as follows:
1. With regard to the current conditions and problems of the teacher in conducting classroom research at Ban Lao School under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. It was found that teachers lacked knowledge about the practical application of the research process. The teachers also did not understand the construction process, or the selection of innovation in accordance with required classroom problem solutions. In addition, the teachers lacked confidence in conducting classroom research, and found limited information sources. The School supervision and follow-up process on classroom research was not provided. In terms of the teachers’ needs on classroom research, it revealed that the teachers would like to develop their potential on innovation construction in order to enhance clearer students’ learning development, data analysis and written reports. In addition, the teachers skill needed support through supervisory and follow-up processes, and school appraise and recognition] Moreover, the results of individual classroom research should be considered as parts of the teachers performance assessment.
2. A guideline for teacher potential development in conducting classroom research involved three approaches as follows: 1) A training workshops, 2) classroom research in actual setting, and 3) Internal supervision.
3. The results after the completion of the intervention revealed that all the researchers and co-researchers gained knowledge and understanding of the five steps of classroom research processes. The five steps consisted of 1) Problem survey and analysis, 2) Establishment of identify of Problem solving guidelines, 3) Process or innovation development, 4) implementation of the research process or innovation, and 5) conclusion and written reports. The teachers demonstrated their ability to apply the knowledge into practice in accordance with the classroom research process. Based on the teachers’ written reports on classroom research, it was determined that the teachers were able to solve problems in instructional management effectively.
คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การวิจัยในชั้นเรียนKeyword
Teachers’ Potential Development, Classroom Researchกำลังออนไลน์: 40
วันนี้: 1,086
เมื่อวานนี้: 1,352
จำนวนครั้งการเข้าชม: 81,839
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093