...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2557
หน้า: 165-172
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 346
Download: 188
Download PDF
สภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Conditions and Problems of Administration on Instructional Management in English for Communication to Prepare for Entering ASEAN Community at Secondary Schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23
ผู้แต่ง
สร้อยสุดา นามนนท์, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, วรกัญญาพิไล แกระหัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วย  ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 100 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จำนวน 40 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 51 คน จากโรงเรียน 40 โรงเรียน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงทุกโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟเทส (F-test  ชนิด One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ scheffe

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษโดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. สภาพและปัญหาการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีขนาดของโรงเรียนที่ต่างกันโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ในประเด็นที่สำคัญ ประกอบด้วย  2 ด้าน คือ ด้านการใช้หลักสูตร ด้านสื่อการเรียนรู้

Abstract

ABSTRACT

The purpose of this research was to examine the conditions and problems of administration on instructional management in English for communication to prepare for entering ASEAN community at secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. The samples, obtained through purposive sampling technique, were 100 administrators, 40 heads of English Language Learning Substance Groups, and 51 English teachers from 40 schools. The research instruments for collecting data utilized a rating scale questionnaire. The data were analyzed through a software program. The statistics used in analyzing data were: mean, percentage, standard deviation, F (F-test, One-way ANOVA), and Pairwise differences of Means using Scheffe’s method.

The findings were as follows:

1. The conditions of administration on instructional management in English for communication to prepare for entering ASEAN community at secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 as perceived by the school administrators, the heads of English Language Learning Substance Groups, and the English teachers as a whole were at a high level. In addition, the problems were at a moderate level.

2. The current conditions and problems of administration on instructional management in English for communication to prepare for entering ASEAN community  at secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 as perceived by schools administrators, the heads of English Language Learning Substance Groups, and the English teachers as a whole, were no significantly different.

3. The current conditions as perceived by schools administrators, the heads of English Language Learning Substance Groups, and the English teachers related to different working experiences, as a whole showed no significantly different. On the other hand, the problems were different significantly at a .05 level.

4. The current conditions and the problems as perceived by schools administrators, the heads of English Language Learning Substance Groups, and the English teachers related to different school size, as a whole, different significantly at a .01 level.

5. The proposed guidelines for developing the learning administration on instructional management in English for communication to prepare for entering ASEAN  community at secondary schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 consisted of two aspects: 1) Curriculum application, and 2) Learning media.

คำสำคัญ

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, ประชาคมอาเซียน

Keyword

English for communication, ASEAN Community

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093