บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้วิจัย จำนวน 1 คน ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน และผู้ให้ข้อมูลจำนวน 38 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และมีการตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอโดยความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในด้านสภาพ พบว่า ครูผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อย ครูยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย โรงเรียนมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อย ส่วนในด้านปัญหา พบว่า ครูไม่มีความรู้ความเข้าใจและการใช้โปรแกรมในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้บริหารยังขาดการพัฒนาครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โรงเรียนยังขาดผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใน ได้ดำเนินการ 2 วงรอบ โดยใช้แนวทางในการพัฒนา 2 แนวทาง คือ 1) การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ครูที่ได้รับการ พัฒนาการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนการได้รับการพัฒนา และครูสามารถผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีคุณภาพ ได้คนละ 1 บทเรียน และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to investigate current conditions and problems in producing computer assisted instruction (CAI) materials, 2) to establish the appropriate guidelines in order to develop the teachers’ competence in producing CAI materials, 3) to follow up and evaluate the development of the teachers’ competence in the production of CAI materials. The target group comprised a researcher, 16 co-researchers, and 38 informants. Statistics use to analyze quantitative data were mean and standard deviation. Qualitative data were analyzed, classified and presented though content analysis.
The findings were as follows:
1. The conditions related to the production of computer assisted instruction revealed that teachers had not produced enough CAI materials. The teachers also had no knowledge in producing CAI materials. In addition, there were no experts in CAI production at school. In terms of the problems, teachers lacked knowledge and understanding in using CAI materials. The school did not provide the teachers’ training and experts to give advice in producing CAI materials.
2. The proposed guidelines for developing the teachers’ competence in producing the CAI materials were drawn from two spirals of the action research process involving 1) A training workshop, and 2) An internal supervision.
3. The effects resulted from the follow-up and evaluation period revealed that teaches had a high level of knowledge and understandings in producing the CAI materials. In addition, the teachers were able to produce at least one piece of quality CAI materials, and to apply the produced materials into practice.
คำสำคัญ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการKeyword
computer-assisted instruction, Action Researchกำลังออนไลน์: 37
วันนี้: 1,068
เมื่อวานนี้: 1,352
จำนวนครั้งการเข้าชม: 81,821
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093