...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2557
หน้า: 134-142
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 500
Download: 205
Download PDF
สภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
States and Problems for Developing Procurement Management in Schools Under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
วิศรุต อุดมลาภ, ไชยา ภาวะบุตร, ภิญโญ ทองเหลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาบริหารงานพัสดุในโรงเรียน 2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้างานพัสดุโรงเรียน  และเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน  และประสบการณ์ 3) แนวทางพัฒนาสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้างานพัสดุโรงเรียนและเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน  จำนวน 255 คน จาก  85  โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบ สมมติฐาน F-test

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน  โดยรวม  อยู่ในระดับมาก  ส่วนปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง

2. สภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน  คือ

2.1 ผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้างานพัสดุโรงเรียน  และเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน  เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง  พบว่ามีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน  โดยรวมไม่แตกต่างกัน  ส่วนปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง

2.2  ผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้างานพัสดุโรงเรียน  และเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน  จำแนกตามขนาดโรงเรียน  มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน  ไม่แตกต่างกัน  ส่วนปัญหาพบว่า  โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3  ผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้างานพัสดุโรงเรียน  และเจ้าหน้าที่พัสดุโรงเรียน  จำแนกตามประสบการณ์  มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน  พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัญหาไม่แตกต่างกัน

3. แนวทางการพัฒนา สภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุโรงเรียน  ที่ควรได้รับการพัฒนาได้แก่   ด้านการจำหน่ายพัสดุและด้านการจัดหาพัสดุ ควรมีการจัดฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้  ความเข้าใจและเกิดความชำนาญในการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนทุกๆ ปี

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this study were to 1) investigate states and problems for developing procurement management in schools 2) Compare the opinions of school administrators, heads of school procurement and procurement officers classified by positions attained, school sizes, and experiences, and 3) Guidelines for developing states and problems in terms of school procurement. The samples consisted of 255 school administrator, heads of school procurement and procurement officers in charge. The research instruments were a set of questionnaires. Statistics employed comprised frequency, percentage, mean, standard deviation and F-test.

The findings of this research were as follows:

1. The states of the school procurement were, as a whole, at a high level. The problems were at a moderate level.

2. The states of the school procurement were

2.1 The opinions of the school administrators, heads of school procurement, and officials in charge toward procurement management classified by positions attained indicated that there were no significant differences.

2.2 The perceptions of the school administrators, heads of school procurement and officials in charge toward the school procurement classified by school sizes showed no significant differences. The problems were, as a whole, at the .05 level of significance.

2.3 The perceptions of the school administrators, heads of procurement and officials in charge of school procurement differed significantly at the .01 level. There were no significant differences on the problems.

3. The guidelines for developing the states and problems on the school procurement revealed that the salvage and disposal function, and the purchasing function should be further developed. In addition, the school should provide a training workshop for relevant officials to enhance professionalism in terms of knowledge, understanding and expertise in the procurement management.

คำสำคัญ

บริหารงานพัสดุ

Keyword

School Procurement

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093