บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนและ 3) ศึกษาผลของการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการปฏิบัติการ (Action) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) และขั้นการสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ สังเกต แบบนิเทศภายใน แบบประเมิน แบบตรวจผลงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียน จากการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1.1 สภาพ การทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการวิจัยตลอดจนการสร้างเครื่องมือหรือนวัตกรรม
1.2 ปัญหา การทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีปัญหาในการเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียน โดยเฉพาะการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนแบบเป็นทางการ เนื่องจากการใช้เวลามาก และขาดผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบความสมบูรณ์ และความถูกต้องของงานวิจัย
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินการนิเทศ การวิจัยครั้งนี้ใช้การนิเทศ 2 วิธี คือ การนิเทศภายใน และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ
3. ผลการพัฒนาศักยภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน ปรากฏว่าดังนี้
3.1 ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี (= 70 .00) โดยมีร้อยละความก้าวหน้า 13.00
3.2.1 ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมจากการนิเทศภายในในวงรอบที่ 1 พบว่าอยู่ในระดับ ดี (= 3.78)
3.2.2 การนิเทศภายในเพื่อติดตามการใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช้ในวงรอบที่ 1 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยสามารถวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล และหาแนวทางการแก้ปัญหาได้โดยการจัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอน ชุดการสอน แบบฝึกเสริมทักษะการพัฒนาแผนการสอนการใช้วิธีการสอนแบบต่างๆ สามารถพัฒนานวัตกรรมการสอน มีการทดลองการใช้นวัตกรรมกับนักศึกษาและบันทึกผลเป็นระยะๆ แต่ผู้ร่วมวิจัย ส่วนใหญ่วิเคราะห์ข้อมูลยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ใช้ภาษาอย่างไม่สละสลวย การสรุปผลการวิจัยยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การดำเนินการนิเทศแบบชี้แนะ ในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องสมบูรณ์ ใช้ภาษายังสละสลวยขึ้น การสรุปผลการวิจัยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
3.2.3 การประเมินการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มผู้ร่วมวิจัยในวงรอบที่ 1 พบว่า การเขียนรายงานการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดี (= 4.09) ในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับดีมาก (= 4.66)
3.2.4 การเขียนรายการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ของกลุ่มผู้วิจัยในวงรอบที่ 1 มีความสมบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับดี (= 3.66) ในวงรอบที่ 2 อยู่ในระดับดีมาก (= 4.56)
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this study were to 1) investigate the current conditions. and problems of teachers’ potential in conducting classroom research, 2) establish guidelines for developing teachers’ potential in conducting classroom research,and 3) examine the teachers’potential in conducting classroom research after the implementation of the proposed intervention the targeted participants were 5 teacher of nathom district non-formall and in formall education center nakhonphanom province.The research in struments were test,interview forms,observation forms,supervision forms,assessment forms,and product assessment.The statistics used in analyzing data were: mean,percentage,and standard deviation.Data triangulation and descriptive statistical analysis were employed.The research employed two cycle of a four stage action research process of planning,action,observation and reflection.
The findings of this study were as follows:
1. The effects of investigation of the current states and problems of doing the classroom research of indicated that: The staes of doing classroom research revealed that the teachers encounterd a lack of knowledge and understanding about classroom research ranging from designation of the research problems, construction of hypothesis, design of research to the construction of tools or innovation.The problem of conducting classroom research revealed that the teachers obtained research report with writing particularly the formal classroom research since it was time consuming. In addition, the shortage of experts to check the completion and correctness of the researches existed.
2. The guidelines to develop the teachers’ potentiality in conducing classroom research included: A workshop. Supervision application comprising internal supervision and coaching supervision.
3. The effects of the development of the teachers’ competency in conducting classroom research showed that:
3.1 The effects of the workshop indicated that the co-researchers gained knowledge and understanding about classroom research at the satisfactory level of 70.00 and with Percentage of Progress of 13.00.
3.2 The effects of the supervision implementation were:
3.2.1 The abilities in doing classroom research through supervision, in the second spiral, were at the high level 3.78 in general.
3.2.2 The internal supervision to monitor the use of classroom research procedure, method development or innovation, application of methods or innovation in the first spiral indicate that the coresearchers could analyze the learners individually and find means to solve the problems. In structional materials, instructional packages, drills in practing to enhance skills to develop lesson plans were included. The use of various teching techniques could develop the instructional innovation. The innovation was applied with the students periodically. However, the problem faced was that the co-researchers analyze data incorrectly and incompletely. The language employed was not sophisticated enough. The conclusion of the research was not consistent with the objectives. Through coaching supervision in the second spiral, it was found that the co-researchers could analyze data correctly and completely and completely. The language used was more delicate and sophisticate. In addition, the conclusion of the research was consistent with the purposs.
3.2.3 The evaluation of the co-researchers’ report writing in the first spiral was at the high level (4.09). In the second spiral, the research report writing of the co-researchers was at the highest level (4.66)
3.2.4 The co-researchers’ research report writing, in the first spiral, was complete at the high level (3.66). In the second spiral, the perfaction of the research report writing was at the highest level (4.56).
คำสำคัญ
พัฒนาศักยภาพครู, วิจัยในชั้นเรียนKeyword
Research To Develop Teachers’ Potential in conducting Classroom.กำลังออนไลน์: 41
วันนี้: 1,084
เมื่อวานนี้: 1,352
จำนวนครั้งการเข้าชม: 81,837
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093