...
...
เผยแพร่: 15 ก.ค. 2557
หน้า: 107-115
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 409
Download: 179
Download PDF
การเสริมสร้างระเบียบวินัยของนักเรียน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
The Enhancement of the Students’ Disciplines in Kham Ta Kla Ratchaprachasongkhro School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23
ผู้แต่ง
อภิชาติ หงษ์ภู, ไชยา ภาวะบุตร, ภิญโญ ทองเหลา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีระเบียบวินัยของนักเรียน  2) หาแนวทางเสริมสร้างระเบียบวินัยของนักเรียน  3) ติดตามผลการเสริมสร้างระเบียบวินัยของนักเรียน  โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย  จำนวน  106  คน ประกอบด้วย  ผู้วิจัย ครูที่ปรึกษา  คณะกรรมการนักเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล  จำนวน  66  คน  กลุ่มเป้าหมายการพัฒนา  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 - 6  ที่มีปัญหาด้านระเบียบวินัย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยกระบวนการวิจัยจะใช้รูปแบบกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วงจรการวิจัยแบบ PAOR  ประกอบด้วย  4  ขั้นตอน  ได้แก่ ขั้นการวางแผน (Planning)  ขั้นการปฏิบัติการ (Action)  ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation)  ขั้นการสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินพฤติกรรม  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย  พบว่า

1.  ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการมีระเบียบวินัยของนักเรียน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า 1.1) สภาพของการมีระเบียบวินัยของนักเรียน ผู้เกี่ยวข้องเห็นว่านักเรียนยังไม่มีระเบียบวินัยเท่าที่ควร  โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนคือด้านการแต่งกายที่ยังไม่ถูกระเบียบ การนำชายเสื้อออกนอกกางเกง  การไม่สวมถุงเท้ารองเท้านักเรียนมาโรงเรียน การเหยียบส้น รองเท้า การทำสีผม ในด้านการตรงต่อเวลา  การมาโรงเรียนสาย การไม่เข้าเรียนตรงเวลา ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การไม่รับผิดชอบในการทำงาน การไม่ช่วยเพื่อนทำความสะอาดเวรประจำวัน  หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบ 1.2) ปัญหาเกิดจากทางโรงเรียนได้ดำเนินการเรื่องระเบียบวินัยปกติเหมือนกับโรงเรียนทั่วไปแต่ขาดการทำงานที่เป็นระบบ ขาดความร่วมมือจากบุคลากรอย่างจริงจัง นักเรียนได้รับอิทธิพลจากสื่อต่างๆ การเรียกร้องความสนใจ  การเลียนแบบเพื่อน การไม่เห็นความสำคัญของการมีระเบียบวินัย ขาดการแรงจูงใจในการปฏิบัติตนให้ถูกระเบียบของโรงเรียนผู้ปกครองขาดการเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด 

2.  แนวทางการเสริมสร้างระเบียบวินัยของนักเรียน  โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ใช้  3  แนวทางได้แก่  1) การศึกษาดูงาน  2) การจัดกิจกรรมเสริมสร้างระเบียบวินัยนักเรียน  3) การนิเทศติดตามผล

3.  ผลการเสริมสร้างระเบียบวินัยของนักเรียน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์  สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 23  พบว่า  นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย  มีพฤติกรรมด้านการรักษาระเบียบวินัย  ด้านการแต่งกาย  การตรงต่อเวลา  และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นไปในทางที่ดีขึ้น แต่ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่พบว่าค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (\bar{x}= 3.48) มีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 21.64 มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมคือ  (\bar{x}= 3.89) และมีค่าร้อยละความก้าวหน้าต่ำกว่าด้านอื่น ซึ่งผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจจึงต้องมีพัฒนาในวงรอบที่ 2  โดยใช้กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง และการกำกับติดตามของครูที่ปรึกษา พบว่าความรับผิดชอบต่อหน้าที่มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น  (\bar{x}=4.05) โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 37.50 สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้การเสริมสร้างระเบียบวินัยของโรงเรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

Abstract

ABSTRACT

The objectives of this study were to 1) investigate the states and problems of the students' disciplines, 2) find out guidelines for enhancing the students' disciplines, 3) monitor the effects of the students' disciplines at Kham Ta Kla Ratprachasongkhro School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. The target group consisted of 106 participants including the researcher, teacher-advisors/homeroom  teachers , members of the student committee and 66 informants. The target group for development was composed of Mathayom Suksa 1-6 students who faced disciplinary problems. The 4-stage participatory action research (PAOR) comprising planning, action, observation and reflection was applied. Tools used were a questionnaire, a form of interview, a form of behavior observation, and a form of behavior evaluation. Statistics employed to analyze quantitative data were percentage, mean, standard deviation. For analyzing qualitative data, content analysis was used.

Findings were as follows:

1. The effects of investigation on the states and problems of the students' disciplines at Kham Ta Kla Ratprachasongkhro School revealed that: 1.1) Regarding the states of the students' disciplines, those concerned found that the students lacked disciplines especially dressing styles against the school regulations,letting shirts out of shorts, wearing no socks to school, stepping heels, dying hair with different colors. In case of punctuality, being late for school as well as attending class with no punctuality were included. In terms of duty responsibility, a lack of duty or task responsibility assigned, no helping with others' duty on daily cleaning, neglecting the cleaning of assigned areas; 1.2 ) The problem on the school regulations running was similar to other schools but without systematic process such as a lack of curious participation from the personnel, the students influenced by general media, students making themselves point of interest, an imitation of others, paying no attention to disciplines, a lack of motivation on the school-based regulations, and  a lack of paying close attention to their children of the parents/guardians.

2. The guidelines of enhancing disciplinary regulations for the students at Kham Ta Kla Latchaprachanukhro School applied 3 means: 1) a study tour, 2) an application of the students’ discipline enhancement, and 3) coaching supervision.

3. The results of enhancement of the students' disciplines of Kham Ta Kla Ratchaprachasongkhro School indicated that the target group of students gained a better behavior on regulations, dressing styles, punctuality, duty responsibility but the duty responsibility showed the increasing mean of 3.48 with Percentage of Progress of 21.64. The mean was lower than the overall mean of 3.89 and Percentage of Progress was lower than other aspects. The effects were still unsatisfied leading to the development in the second spiral through the activities of flagpole assembly, monitoring of teacher-advisors/homeroom teachers, indicating that duty responsibility was higher at 4.05 with Percentage of Progress of 37.50 making those concerned unsatisfied with the effects leading to the school enhancement of disciplinary regulations to be run with efficiency and effectiveness.  

คำสำคัญ

การเสริมสร้าง,ระเบียบวินัย

Keyword

Enhancement, Discipline

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093