บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุของการหนีเรียนของนักเรียน โรงเรียนพังโคนวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) หาแนวทางการแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน โรงเรียนพังโคนวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 3) ศึกษาผลการแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน โรงเรียนพังโคนวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 72 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 86 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์ (Observation) 4) การสะท้อนกลับ (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สาเหตุของการหนีเรียนของนักเรียน โรงเรียนพังโคนวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 เกิดจากสาเหตุ 3 สาเหตุ คือ 1) สาเหตุทางครอบครัว ประกอบด้วย ด้านการดำรงชีวิตของผู้ปกครอง (เศรษฐกิจและการเงิน) ด้านการเดินทางโดยยานพาหนะ ด้านระยะทางจากบ้านถึงโรงเรียน ปัจจัยทางด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 2) สาเหตุทางโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านการจัดกระบวนเรียนการสอน ด้านกฎระเบียบของโรงเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียน ด้านการให้บริการช่วยเหลือนักเรียน ด้านการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ด้านบุคลิกภาพครูและด้านความรู้ความสามารถ และด้านสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน 3) สาเหตุด้านตัวนักเรียน ประกอบด้วย ด้านบุคลิกภาพ นิสัยของตนเอง ความสนใจ ความถนัด ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านการเห็นคุณค่าทางการศึกษาและด้านการคบเพื่อน
2. แนวทางการแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียนโรงเรียนพังโคนวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มี 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาการหนีเรียน จำนวน 7 กิจกรรม คือ กิจกรรมการให้คำปรึกษาเบื้องต้น กิจกรรมในชั้นเรียน กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมการสื่อสารกับผู้ปกครอง กิจกรรมสอนซ่อมเสริม กิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน 2) การนิเทศกิจกรรมทั้ง 7 กิจกรรม
3. ผลการแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียนโรงเรียนพังโคนวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า วงรอบที่ 1 นักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นและให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นด้วย จำนวนครั้งที่หนีเรียนก่อน – หลัง ลดลงทุกคน โดยมีค่าเฉลี่ยลดลงร้อยละ 18.18 – 68.75 แต่ยังมีนักเรียนที่หนีเรียนลดลงน้อยกว่าร้อยละ 50 จำนวน 46 คน และนักเรียนอีก 36 คนมีพฤติกรรมการหนีเรียน กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจึงนำนักเรียนทั้ง 82 คน เข้ารับการพัฒนาในวงรอบที่ 2 เป็นเวลา 1 เดือน ผลปรากฏว่า ยังมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการหนีเรียนเกินร้อยละ 20 อีกจำนวน 7 คน ครูประจำชั้นและครูประจำวิชาให้การดูแลและช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this study were to 1) investigate the current states and problems of the student truancy at Phang Khon Witthayakhom School, 2) find out guidelines for the development of the student truancy at Phang Khon Witthayakhom School, and 3) monitor the effects of the student truancy at Phang Khon Witthayakhom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 23. The target group consisted of 72 participants in the research group and 86 informants. The 2-spiral Participatory Action Research (PAR) comprising 4 stages: 1) planning, 2) action, 3) observation, and 4) reflection was employed. The research instruments were composed of a form of interview and a rating scale questionnaire. Statistics used were percentage, mean and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The investigation of the causes of the student truancy at Phang Khon Witthayakhom School revealed that the student truancy in the school was caused by 3 factors : 1) Family causes comprised the way of living of the parents/guardians (economy and finance) , travelling methods to school by various vehicles ,distance from the school,family factors and residential environment; 2) School causes included learning process application,school rules and regulations, school environment and atmosphere, student-assistance provision, classroom activity implementation, teachers' personalities and abilities as well as out-of-classroom and school premise environment ; and 3) Student causes were composed of the students' personalities and habits, interests,skills,and discipline, recognition of education values as well as making friend with schoolmates.
2. The guidelines for solving the student truancy at Phang Khon Witthayakhom School comprised 2 means including 1) The following 7 activities, namely; preliminary counseling, in-classroom advice, peer-help-peer action, communication with parents, remedial learning, extracurricular lessons, and student-home visiting 2) The supervision of all mentioned activities.
3. The effects of the problem solving of the student truancy at Phang Khon Witthayakhom School indicated that in the first spiral, the students' behaviors were better improved and the students paid more attention to the activities organized by the school. A number of times in truancy became less with the average of 18.18 - 68.75 but 46 students obtained their truancy improvement less than 50 percent whereas 36 students still played truant. These 82 students mentioned were redeveloped in the second spiral by the researcher group for 1 month. As a result, it was found that there were 7 students who were still playing truant. These students were particularly observed and helped by the classroom teachers.
คำสำคัญ
การแก้ปัญหาการหนีเรียนKeyword
Student Truancyกำลังออนไลน์: 41
วันนี้: 1,088
เมื่อวานนี้: 1,352
จำนวนครั้งการเข้าชม: 81,841
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093