บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย 2) หาแนวทางการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กปฐมวัย และ 3) ติดตามผลการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านกลาง สังกัดเทศบาลตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร โดยใช้กระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 4 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบประเมินความพร้อมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบบันทึกการนิเทศ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดบ้านกลาง สังกัดสำนักงานเทศบาลตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
ด้านสภาพเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย พบว่า เทศบาลไม่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับครูผู้ดูแลเด็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งขาดงบประมาณในการที่จะส่งครูผู้ดูแลเด็กทุกคนไปฝึกประสบการณ์ได้ทั้งหมด ส่งผลให้ครูผู้ดูแลเด็กจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพ
2. แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางในการพัฒนา 3 แนวทาง 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การจัดประสบการณ์ในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย 3) การนิเทศภายใน แบบชี้แนะ ในวงรอบที่ 2 การนิเทศแบบประชุมนิเทศ
3. การติดตามประเมินผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย พบว่าในวงรอบที่ 1 สามารถพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังพบว่าครูผู้ดูแลเด็กบางส่วนยังจัดประสบการณ์การเรียนรู้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ กิจกรรมไม่เหมาะสมกับวัย และไม่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ ซึ่งทุกข้อนี้ต้องนำมาพัฒนาในวงรอบต่อไป และผลวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศภายในเป็นการประชุมนิเทศ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้รับไปพัฒนา แล้วปรับปรุงการจัดประสบการณ์การเรียนตามกิจกรรมประจำวันทั้ง 6 กิจกรรมได้จนเป็นที่น่าพอใจ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ พบว่าคะแนนความคิดสร้างสรรค์โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบ หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยมีค่าสูงขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 88.86 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 15.89
Abstract
ABSTRACT
The purposes of this research were to 1) investigate current state and problems of the child caregivers about enhancing the creativity of the early childhood, 2) find out guidelines for developing the child caregivers about enhancing the creativity of the early childhood, and 3) follow - up and evaluate the development of the child caregivers on strengthening the creativity of children at Ban Klang child care Center, Under Tambon Kut Hai, Amphoe Kut Bak, Sakon Nakhon Municipality. The target group comprised the research and 3 co – researchers and 12 the respondents. The research was an action research consisting of four stages : planning, action , observation and reflection. The instruments used were test, observation forms, interview forms, from of a learning assessment , and Readiness assessment in organizing learning experience. The statistics used were percentage, mean ,and standard deviation .
The findings of this research were as follows :
1) The results of the states and problems of the child caregivers, child care, in enhancing the creativity of the early childhood at Ban Klang child care Center, Under Tambon Kut Hai, Amphoe Kut Bak, Sakon Nakhon Municipality. The condition about child caregivers to enhancing the creativity of the early childhood about Municipalities are not aware module in development. The problem about child caregivers about enhancing the creativity of the early childhood about child caregivers faced a lack of knowledge Understanding of management in enhancing the creativity of the early childhood. The lack of funding for childhood to experience it all. As a result, child caregivers learning experiences inefficient.
2) The guidelines to develop the child caregivers on enhancing the creativity of children In the first spiral, involvend 3 ways : 1) workshops 2) a learning experience that focuses on enhancing creative children. 3) internal supervision. In the 2nd round is a meeting supervision supervision.
3) The effects of the follow – up and evaluation of development of the child caregivers on enhancing the creativity of children found In the first cycle, child caregivers can develop children's knowledge and understanding to plan learning experiences that focus on strengthening the creative level found that some child caregivers, caregivers also a learning experience is not satisfactory. Activities are age-appropriate and inconsistent with the contents which all need to be developed in the next round. And the second loop is used supervision supervision conference. Achieve the objectives by child caregivers, child care knowledge. Understanding about the learning experience has been to develop to improve the learning experience, as well as daily activities all 6 events, as unsatisfactory and the cover image even more and the creative development of young children using a measure of creativity found that creativity by including the following four elements has been a learning experience. Focused on enhancing the creativity of children were higher with an average 88.86 percent and 15.89 percent progress.
คำสำคัญ
การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยKeyword
Development Of Child Caregiver to Enhance Creativity in Early Childhood.กำลังออนไลน์: 41
วันนี้: 1,090
เมื่อวานนี้: 1,352
จำนวนครั้งการเข้าชม: 81,843
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093