...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2557
หน้า: 210-233
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 346
Download: 200
Download PDF
การพัฒนาการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านแพงวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
The Development Public–Mindedness of the Students at Ban Phaeng Phitthayakhom School under the Office of the Secondary Educational Service Area 22
ผู้แต่ง
ไมตรี สารการ, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ธวัชชัย ไพใหล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการมี จิตสาธารณะของนักเรียน  2) หาแนวทางการพัฒนาการมีจิตสาธารณะของนักเรียน และ 3)ติดตามผลการพัฒนาการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน  การปฏิบัติการ  การสังเกตการณ์  และการสะท้อนกลับ  กลุ่มเป้าหมาย ของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 27 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22  มีดังนี้

1.1 สภาพ พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม ยังขาดการมี จิตสาธารณะ  สังเกตได้จากพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก  นักเรียนไม่มีระเบียบวินัยไม่รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวไม่พึงประสงค์ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ไม่รู้จักการดูแลรักษาสิ่งของที่เป็นสาธารณะสมบัติ  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับโรงเรียน  พ่อแม่ ผู้ปกครอง  ต้องคอยควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด 

1.2 ปัญหา พบว่า นักเรียนไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางโรงเรียน  ไม่เชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่  ครู ผู้ปกครอง ทำลายข้าวของที่เป็นสาธารณะสมบัติ  ไม่ใส่ใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 

2.  แนวทางในการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียนดำเนินการ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน 2) จัดกิจกรรมพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน  ประกอบด้วย  1) กิจกรรมเชิดชูคนดีหน้าเสาธง  2)กิจกรรมบันทึกความดีประจำวัน 3) กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรมสุดสัปดาห์ 4) กิจกรรมรณรงค์รักษาความสะอาด 5) กิจกรรมคนดีศรีบ้านแพง 6) กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน 7) การนิเทศภายใน

3.  ผลการประเมินพฤติกรรมจิตสาธารณะตนเอง สำหรับนักเรียน วงรอบที่ 1 ก่อนการพัฒนาพบว่า  ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x}= 2.85) เมื่อพิจารณาตามพฤติกรรมบ่งชี้ พบว่า ทุกพฤติกรรมบ่งชี้อยู่ในระดับ  ปานกลาง ทุกตัวบ่งชี้ภายหลังมีการพัฒนา  พบว่า  โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (\bar{x}= 3.90)โดยมีร้อยละความก้าวหน้า เฉลี่ย 48.83 เมื่อพิจารณาตามพฤติกรรมบ่งชี้ พบว่า ทุกพฤติกรรมบ่งชี้อยู่ในระดับ มาก และวงรอบที่ 2 การพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (\bar{x}= 4.70) โดยมีร้อยละความก้าวหน้าเฉลี่ย 86.05  เมื่อพิจารณาตามพฤติกรรมบ่งชี้  ในวงรอบที่ 2 พบว่า ทุกพฤติกรรมบ่งชี้อยู่ในระดับ มากที่สุด ผลการจัดกิจกรรพัฒนาการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านแพงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามขั้นตอนต่างๆ  ทำให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเกิดการพัฒนาการมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น

Abstract

ABSTRACT

The  purposes  of  this research were to 1) investigate the current states and problems concerning public-mindedness of the students 2)  find out guidelines for developing public-mindedness of the students and 3)  follow up and evaluate the development of public-mindedness of the students at Ban Phaeng  Phitthayakhom School under the Office of the Secondary ducational Service  Area  22. This research employed two spirals of a four- stage action research comprising planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of the researcher, 27 co-researchers and 55 informants. The instruments used were a test, a form of assessment, a form of observation, and a form of interview. Quantitative data were analyzed using mean, percentage, standard deviation and Percentage of Progress.   To analyze qualitative data, content analysis in forms of content classification and descriptive presentation was applied.

The findings were as follows:

1. The current states and problems concerning public-mindedness of the students at Ban Phaeng Phitthayakhom school under the Office of the Secondary Educational Service Area  22 found that the students faced a lack of public-mindedness, discipline, and  responsibilities. The students obtained aggressive behaviors, but a lack of taking care of and maintaining public properties and did not pay attention to attending any activities organized by the school. The parents/ guardians and teachers had to pay strict attention to them.

2. The guidelines on developing public-mindedness of the students at BanPhaeng hitthayakhom  School under the Office of the Secondary Educational Service Area  22 included: 1) a study tour at the model school which was successful in developing public-mindedness, 2) activities for developing public-mindedness for the students including ;  2.1 Activity of Admiration of the Good in the front of the Flag Pole, 2.2 Activity of Records on Daily Good Deeds, 2.3 Activity of  trains morality virtue at the End of Working Day, 2.4 Activity of Cleanliness Maintenance Campaign, 2.5 Activity of the Outstanding of Ban Phaeng, and 2.6 Camping for Morality to Develop Public-Mindedness of the Students. and  3) Internal supervision

3. The effects of the development of public-mindedness of the students in the first spiral, before the devolvement, were at the moderate level as a whole (\bar{x}= 2.85). When each behavioral indicator was considered, it was found that it was at the moderate level in every indicator. After the development, it was at the high level as a whole (\bar{x}= 3.90). The average Percentage of Progress was 48.83. When each behavioral indicator was considered, it was found that it was at the high level in every indicator. And in the second spiral, it was at the highest level as a whole (\bar{x}= 4.70). The average Percentage of Progress was 86.05. When each behavioral indicator was considered, it was determined  that it was at the highest level.  In conclusion, the effects of developing of public-mindedness among the students at Ban Phaeng Phitthayakhom school under the Office of the Secondary Educational Service Area  22 revealed that the students gained a better development on public-mindedness.

คำสำคัญ

การมีจิตสาธารณะของนักเรียน

Keyword

Public–Mindedness of the Students

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093