...
...
เผยแพร่: 15 ต.ค. 2557
หน้า: 192-199
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 245
Download: 170
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
Development of the Teachers’ Competence in Managing Early Childhood Learning Experiences Integrated at Center Under Tambonhuaiyang Subdistrict Administration Organization Amphoe Meuang Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง
วรรณพร โพธิ์ศรี, ธวัชชัย ไพใหล, สมเกียรติ พละจิตต์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณการ 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 20 คน โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นปฏิบัติการขั้นสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ก่อนการพัฒนา พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการและไม่เคยจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ของครูผู้ดูแลเด็กไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งครูผู้ดูแลเด็กมีความต้องการและยินดีเข้ารับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจทักษะด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. แนวทางการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้แนวทางการศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศติดตามผล

3. ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.67 ครูผู้ดูแลเด็กสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และครูผู้ดูแลเด็กสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ 6 ขั้นตอน โดยมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ปกครองและส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการของครูผู้ดูแลเด็กมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to 1)  Study and learning experience and problems of integration. 2)  find out a guideline for developing the Teachers’ Child Care Potential in Managing Learning Experiences of the integrated, and 3) follow up and evaluate developing the Teachers’ Child Care Potential in Managing Learning Experiences of the integrated. The research used four-stage action research process comprising planning, action, observation and reflection.The target group consisted of 21as co-researchers. and 47 information in the research. The instruments used were test, observation forms, interview forms and assessment forms.The statistics used in research, percentage, mean and standard deviation.

The findings of the research were as follows:

1.  The state and problems of Teachers’ Child Care Potential in Managing Learning Experiences of the integrated at Early Childhood Development Centre TambonHuaiyangSubdistrict Administration Organization AmphoeMeuangSakonNakhon Province.

1.1  The conditions found.

Teachers’ Child Care and assistantuse an integrated learning experience in its original form.The plan learning experiences integrated by the Department of Local Government.Not improvement in accordance with its own context.From observing the behavior of Teachers’ Child Care were found.Lack of knowledge in an integrated learning experience.Lack of assertiveness and encourage children to participate in various activities.andThe analysis of relevant documents found. Teachers’ Child Care, lack of implementation plan for an integrated learning experience. Lack recording after the event. Lack developmental evaluation of children after the learning experience integrated.

1.2  The problem is found.

Teachers’ Child Care, child development did not fully evaluate all aspects.Is physical, emotional, social and intellectual.No use various methods to evaluate.No note of the assessment.Can’t be taken into consideration assessment data improve the performance event.

2.  The guideline for developing the Teachers’ Child Care Potential in Managing Learning Experiences of the integrated is 1) Study visit 2) workshop 3) Supervision.

3.  Result of Teachers’ Child Care Potential in Managing Learning Experiences of the integrated is found, Teachers’ Child Carehave a deep understanding of how to plan learning experiences integrated 6 increased activities.Have new experiences the integrated teaching.Have new experiences The integrated teaching. By a research and co-researchers help each other. Learning to learn an integrated experience. The map can be made ​​using it. And inspiration to strive for self-development and child development centers.

คำสำคัญ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ

Keyword

Intearated Leaning Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093